Japanese cuisine (日本料理) means traditional-style Japanese food, similar to that already existing before the end of national seclusion in 1868. In a broader sense of the word, it could also include foods whose ingredients or cooking methods were subsequently introduced from abroad, but which have been developed by Japanese who made them their own.
Japanese cuisine is known for its emphasis on seasonality of food quality of ingredients and presentation.
ในช่วงฤดูกาลของอากาศที่หนาวเย็นในช่วงนี้หากได้ดื่มชาเขียวร้อนๆ ซักถ้วยก็คงจะชื่นใจไม่น้อย ไม่เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นที่นิยมดื่มชาเขียวเท่านั้น ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็หันมานิยมดื่มชาเขียวกันเป็นจำนวนมากอีกด้วย ในประเทศไทยก็เหมือนกันการดื่มชาเขียว หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของชาเขียวก็ได้รับการตอบรับที่ดีด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่ามีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว ที่ประเทศจีนเค้าดื่มชาเขียวกันเพราะพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาโรคได้ และที่ประเทศญี่ปุ่นนอกจากเป็นสมุนไพรและชงดื่มในชีวิตประจำแล้ว คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ชาเขียว เป็นอะไรได้มากกว่านั้นJapanese cuisine is known for its emphasis on seasonality of food quality of ingredients and presentation.
มาทราบความเป็นมาคร่าวๆ ของต้นกำเนิดชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นกันดีกว่า ญี่ปุ่นเรียกชาเขียวว่า เรียวคุชะ (Ryokucha , 緑茶) เท้าความถึงการการค้นพบชา ในประเทศจีนก่อน โดยเริ่มต้นที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมื่อสมัยยุคเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ ประมาณห้าพันปีมาแล้ว ค้นพบโดยจักรพรรดิในตำนานของจีน เสินหนงสื่อ ผู้ที่ไดัรบสมญานามว่า เทพเจ้าของชาวนา และยังเป็นผู้ที่ชอบค้นคว้ายาสมุนไพรต่างๆ อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนชอบดื่มน้ำต้มสุกอยู่เป็นประจำ มีอยู่วันหนึ่งขณะที่ เสินหนงสื่อ กำลังนั่งเล่นอยู่แถวต้นชาในป่าเขา และกำลังต้มน้ำอยู่ ลมได้พัดใบชาร่วงหล่นลงมาในน้ำที่กำลังเดือดได้ที่ เมื่อเค้าลองดื่มดูก็เกิดความรู้สึกสดชื่นเป็นอย่างมาก และแล้วการดื่มชาในประทศจีนก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา



และผู้ที่วางแผนและให้กำเนิดประเพณีการชงชาในแบบฉบับญี่ปุ่นอย่างแท้จริงก็คือ Sen Rikyu เขาได้เป็นประธานพิธีชงชาหลายต่อหลายงานที่ใช้งบในพิธีอย่างฟุ่มเฟือยในสมัยโชกุน โนะบุนะงะ โอดะ และสืบต่อมาในสมัยโชกุน โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ในสมัยนี้ชาเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดในด้านศิลปะหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ การออกแบบสวนญี่ปุ่น และอาหารญี่ปุ่น
ต่อมาในสมัยยุคเอโดะ พิธีชงชาและการดื่มชาเริ่มมีการขยายวงกว้างลงมาถึงชนชั้นล่างมากขึ้น แต่กระนั้นเมื่อถึงการเก็บเกี่ยวชาที่ดีที่สุดในช่วงแรกของปีก็ต้องส่งมอบให้กับชนชั้นซามูไรก่อน ส่วนชาที่ชาวบ้านดื่มกันจะเป็นชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งต่อมาคุณภาพก็จะด้อยลงมา
ต่อมาในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังเป็นที่สองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ และไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและแพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
......................................................................................................................................................
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับชาเล็กๆ น้อยๆ ชาเขียว ชาอูหลง และชาดำ แตกต่างกันอย่างไร ?
- ชาเขียว หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะนำใบชามาอบไอน้ำด้วยอุณหภูมิสูงทันที เพื่อทำให้ใบชาแห้ง ใบชาที่ได้จากการอบจะยังคงมีสีเขียวและคงคุณค่าสารอาหารได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะเหตุนี้ ชาเขียว จึงเป็นที่นิยมมากในการดื่มเพื่อสุขภาพเพื่อช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งและล้างสารพิษในร่างกายได้อีกด้วย
- ชาอูหลง หลังเก็บเกี่ยวจะนำใบชามาตากแดดจนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ใบชาเกิดกระบวนการหมักตัวทำให้มีรสชาติและกลิ่นหอมเข้มข้น เป็นชาที่ไม่มีรสชาติและไม่มีน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
- ชาดำ หลังเก็บเกี่ยวจะนำใบชามาไปบดด้วยลูกกลิ้งก่อน อบด้วยไอน้ำหรือเป่าด้วยความร้อน และนำไปตากแดดจนเป็นสีดำ นำมาบดหรือหั่นก็ได้ การดื่มชาดำยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ด้วย
......................................................................................................................................................
credit: http://www.marumura.com/food/?id=2298