Wednesday, December 28, 2011

8 สิ่งที่คนญี่ปุ่นนึกถึงช่วงวันปีใหม่ (Things to see during New year in Japan)

เรื่องโดย : The 8th Ronin

あけましておめでとうございます!(Akemashite omedetou gozaimasu)
ก่อนที่จะกล่าวประโยคข้างบน ซึ่งแปลว่า "สวัสดีปีใหม่" ได้เต็มปากเต็มคำ รู้หรือเปล่าว่าพอถึงปีใหม่คนญี่ปุ่นเขานึกถึงอะไรกันบ้าง อ๊ะ! ขอแบบเป็นงานเป็นการกันหน่อยนะ ประมาณว่า...ควงแฟนไปสวีทบนหอคอยโตเกียวทาวเวอร์ อันนั้นเอาเก็บไว้คุยกันรอบหน้า^^

ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (ประมาณกลางเดือนธ.ค. ถึงกลางเดือนมกราคม) เราจะได้เห็นสิ่งของที่ไม่ค่อยชินตาคนไทยส่วนใหญ่หลายอย่าง รวมถึงกิจกรรมอีกหลายรูปแบบที่คนญี่ปุ่นจะทำกันในช่วงนี้ ขอเสนอ 8 สิ่งที่เราจะเห็นในญี่ปุ่นช่วงปีใหม่

The New Year is the most important annual festival in Japan. It is ususlly celebrated between 1st and 7th January. During this period, numerous traditional customs are observed and delightful events are held. Below are some of the scenes that are seen during the period all over Japan. Have you seen any of them? How many do you know? If you know all of them, then you can be called a "Japan expert".

1. อย่างแรกเป็นของประดับบ้านช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่นเรียกว่า Kadomatsu (門松)

Kadomatsu ทำจากไม้ไผ่และกิ่งสน อาจจะเพิ่มเติมสิ่งของมงคลอย่างอื่นไปบ้างแล้วแต่รสนิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่โคโดมัตสึจะถูกจัดวางไว้สองฟากฝั่งประตู บริเวณทางเข้าบ้าน หรืออาคารสำนักงาน เพื่อต้อนรับเทพเจ้าแห่งวันปีใหม่ที่จะนำความสุขและความโชคดีลงมาสู่โลกมนุษย์ในปีใหม่

Kadomatsu is a pair of columns made of bamboo and pine branches placed at both sides of the gate for the New Year. They are so placed as a mark through which the god of the year comes down into this world with luck and good health.

2. ของแต่งบ้านช่วงปีใหม่นั้นก็มีอีกอย่าง เรียกว่า Kagamimochi (鏡餅)

Kagamimochi เป็นของแต่งบ้านปีใหม่ ที่ทำออกมาเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งวันปีใหม่ โดยจะจัดวางไว้ที่ Tokonoma ซึ่งเป็นพื้นที่เล็กๆ ที่ถูกจัดไว้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบ้าน Kagamimochi นั้นจะมีโมจิกลมๆ สองลูกวางซ้อนกันอยู่ (ตัวแทนพระจันทร์กับพระอาทิตย์) เมื่อพ้นช่วงปีใหม่ไป ประมาณวันที่ 11 มกราคม โมจิทั้งสองลูกก็จะถูกกินเพื่อเสริมสิริมงคลให้กับคนในบ้าน

Kagamimochi is a layer of two round-shaped rice cakes, symbolizin the moon and the sun each, made as an offering to the god of the year. They are placed at the household altar or the Tokonoma (an alcove), a highly respected place in a Japanese house. They are belived to give power and are eaten after being romoved on 11th January.
3. อย่างต่อมา นักช้อปทั้งหลายคงจะชอบ เรียกว่า Fukubukuro (福袋)หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Lucky Bags (ถุงนำโชค) นั่นเอง

Fukubukuro ส่วนใหญ่จะรวมสินค้าหลายๆ อย่างไว้ภายใน ผู้ซื้อจะไม่รู้เลยว่ามีอะไรอยู่บ้าง แต่มูลค่าของสินค้ามักจะมากกว่าราคาที่จ่ายไป 2 - 3 เท่า (จากราคาขายปลีก) ปกติก็จะมีการจำหน่ายเจ้าถุงนำโชคนี่กันในวันที่ 2 หรือ 3 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่ห้างร้านต่างๆ เปิดเป็นวันแรกของปี ซึ่งก็ดีเพราะลูกค้าจะได้มีโอกาสลุ้น "โชคดี" ของตัวเองรับปีใหม่กันด้วย

Fukubukuro, literally means "lucky bag", are grab bags usually sold on 2nd or 3rd January when department stores or shops open for the first time in the New Year. The contents are random and unknow but have items twice or even three times the value of the retail price. A lot of Japanese buy them to get "luck"!

4. อย่างที่สี่ เข้าสู่หมวดของกินกันแล้ว เรียกว่า Osechi-ryori (お節料理)

อาหารปีใหม่ของชาวญี่ปุ่น เพื่อนำโชคดีและสุขภาพแข็งแรงมาให้ในปีใหม่ แต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่นก็จะมีสไตล์เป็นของตัวเอง ส่วนประกอบของอาหารแต่ละอย่างก็จะมีความหมายดีๆ พิเศษๆ ทั้งนั้น ซึ่งอาหารจะถูกจัดวางอย่างสวยงามภายในกล่องอาหาร อาจจะเป็นกล่องใหญ่ชั้นเดียว หรือขนาดย่อมๆ หน่อยแต่หลายชั้นก็ได้ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวรวมถึงแขกที่มาอวยพรปีใหม่ได้รับประทานร่วมกัน

Osechi-ryori is special foods eaten with a wish for luck and good health for the year. Each region and family gas its own style and contents but each ingredient has its own good meanings. All items are put beautifully in a multi-tiered box and are served not only family members but also guests coming for New Year's greetings.

Zoni soup5. อย่างที่ห้า ยังคงเป็นอาหารมงคลช่วงปีใหม่ เรียกว่า Zoni (雑煮)

Zoni เป็นซุปโมจิใส่เนื้อไก่ ปลาและผักต่างๆ ส่วนประกอบและรสชาติก็จะต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ (แต่แอบส่วนตัวนิ๊ดนึง ก็ถ้าเป็นอาหารมงคลช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่น จะชอบกินเส้นโซบะปีใหม่ที่เรียกว่า โทชิโคชิโซบะ (Toshikoshi soba 年越し蕎麦) มากกว่า มีความหมายดีเหมือนกัน ประมาณว่าเจริญรุ่งเรืองและอายุยืนยาวนาน เรื่องของเรื่องก็คือเราว่ามันกินง่ายกว่าซุปโมจิอ่ะ^^)

Zoni is a rice cale soup prepared with chicken, fish and vegetables. There are tremendous variations according to regions. Generally speaking, however, Zoni with square-shaped rice cake in clear soup is preferred in eastern Japan, while Zoni with round-shaped rice cakes in Miso soup iseaten in western Japan.

6. อย่างต่อไป มารู้จักกับ ส.ค.ส ฉบับญี่ปุ่นกันบ้าง เรียกว่า Nengajo (年賀状)

อันที่จริง Nengajo ก็เป็นการ์ดธรรมดาๆ ที่ส่งไปอวยพรปีใหม่ให้กับญาติพี่น้อง เพื่อน และเจ้านายนั่นแหล่ะ ชาวญี่ปุ่นจะส่งการ์ดนี้กันก่อนสิ้นเดือนธันวาคม แต่จุดเด่นของ Nengajo ก็คือทางไปรษณีย์เขาจะรีบจัดส่งให้ถือมือผู้รับทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งคงจะทำให้ผู้รับมีความสุขกับคำอวยพรปีใหม่กันมากทีเดียว แถมบน Nengajo แต่ละใบก็จะมีตัวเลขกำกับอยู่ด้วย ใครโชคดีอาจจะถูกรางวัลพิเศษได้โชคใหญ่รับปีใหม่เลยก็ได้ (ส.ค.ส. แบบนี้อยากได้กันใช่มั้ยล่ะ)

Nengajo is a card exchanged among relatives, friends and bosses as greetings for the New Year. People post them by the end of December so that they arrive at the destination on 1st January.
7. อย่างที่เจ็ดนี้ เด็กๆ จะชอบกันมาก เรียกว่า Otoshidama (お年玉)

Otoshidama ก็คือเงินปีใหม่ ประมาณอั่งเปาของชาวจีน เด็กๆ จะได้รับจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา เป็นเงินรางวัลที่ปีที่แล้วเป็นเด็กดี และหวังว่าปีใหม่จะทำตัวเป็นเด็กดียิ่งๆ ขึ้นไป อารมณ์ก็จะประมาณนั้น...

Otoshidama is a New Year's money gift givento children by their parents, grandparents and relatives. This is originally concerned with the custom of giving Kagamimochi out tu children, hoping that they can attain power for the year.

8. อย่างสุดท้ายนี้ ใครๆ ก็ทำกันช่วงปีใหม่ นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ก็ไม่พลาด นั่นคือ Hatsumode (初詣)

Hatsumode ก็คือการไปวัดหรือศาลเจ้าเพื่อขอพรปีใหม่นั่นเอง ใครอยากให้ปีใหม่เป็นปีที่ดี มีโชค มีลาภ สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จะขออะไรก็จัดหนักกันไปตั้งแต่วันปีใหม่เลย ซึ่งศาลเจ้าที่คนญี่ปุ่นนิยมไปขอพรปีใหม่กันมาก ก็เห็นจะเป็นศาลเจ้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ศาลเจ้าอิเสะ (Ise Jingu) รวมถึงศาลเจ้าอิซุโมะ (Izumo Taisha) และศาลเจ้าเมจิ (Meiji Jingu)

Hatsumode is a New Year's visit to a shrine or temple. Pepple do this to pray for luck and good health for the year. Some shrines such as Ise Jingu, Izumo Taisha and Meiji Jingu are packed with visitors during the new year.


เห็นได้ชัดว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คนญี่ปุ่นเชื่อว่า ถ้าทำแล้วจะปัดเป่าโชคร้าย นำสิ่งดีๆ และความสุขมาให้ทีนี้ ถ้าได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่ เราก็จะ enjoy กับบรรยากาศได้อย่างเต็มที่เต็มอารมณ์แล้วละนะ ขอให้ あけましておめでとうございます! กันถ้วนหน้าจ้ะ



credit:
http://campus.sanook.com/
http://yokosoen001.clublog.jp/

Wednesday, December 21, 2011

โซเมน - SOMEN (そうめん)

บะหมี่ญี่ปุ่นใช่ว่าจะมีแต่เส้นเหนียวนุ่มกับน้ำซุปร้อนๆ ที่นอกจากอร่อยแล้วยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้ด้วย ความหลาก หลายของบะหมี่ญี่ปุ่นนั้นมากมายกว่าที่คิดนะ และตอนนี้กำลังจะเข้าช่วงซัมเมอร์แล้ว อากาศที่ญี่ปุ่นเวลาฤดูร้อนก็ร้อนมากเชียวล่ะ เพราะฉะนั้นบะหมี่ที่นิยมทานกันในช่วงซัมเมอร์ก็มีเหมือนกัน เรียกว่า โซเมน หรือ หมี่เย็น หน้าตาเป็นยังไงมาดูกันดีกว่า

โซเมน - SOMEN (そうめん) มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากพอสมควร เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวสาลีในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิ์องค์ที่สิบของญี่ปุ่น และมีการคิดค้นบะหมี่ต้นตำรับของชาวญี่ปุ่นออกมา ก็คือโซเมนเนี่ยแหละ โดยยุคแรกๆ นั้นเริ่มมาจาก มิวะโซเมน แถบมิวะ ในจังหวัดนารา และขยายผลไปทั่วญี่ปุ่น จึงมีการผลิตเส้นโซเมนในหลายพื้นที่ของญี่ปุ่น เส้นโซเมนจะคล้ายกับขนมจีนบ้านเรา เส้นสีขาวนวล ขนาดบางสุดก็ 1.3 มิลลิเมตร จะเล็กกว่าบะหมี่อย่างอื่นทั้งหมด

มาดูวิธีการผลิตโซเมนจากมิวะ ที่พิถีพิถันมากในการผลิตเส้นโซเมนออกมา โซเมนทำจากข้าวสาลี น้ำบริสุทธิ์ และอุณหภูมิการตากแผ่เส้นนั้นต้องไม่ร้อน อากาศพอดีๆ จึงจะได้เส้นที่สมบูรณ์ออกมาจำหน่าย
เส้นโซเมนมีหลากสีมี ชาเขียวโซเมน อิจิโกะโซเมน อุเมะโซเมน สาเกโซเมน อะโกะโซเมน สีสวยน่ากินทั้งนั้นเลย

ขั้นตอนการต้มเส้นโซเมงก่อนนำไปประกอบอาหาร ตั้งน้ำ ใส่เส้น รอให้เดือด ยกเส้นลงมาเทน้ำร้อนออก ยีเส้นไม้ให้ติดกัน ง่ายใช่มั้ยล่ะ เส้นโซเมนสามารถดัดแปลงได้หลายเมนู ส่วนโซเมนที่มาพร้อมกับน้ำซุปร้อนๆ ที่ทานในฤดูหนาวเรียกว่า นิวเมน

โซเมนที่ไหลไปตามไม่ไผ่ ในร้านอาหารเรียกว่า โซเมน นากาชิ การทานอย่างนี้ต้องใช้ความชำนาญในการคีบเส้นขึ้นมาหน่อยนะ เพราะว่าเส้นโซเมนจะถูกไหลมาตามน้ำเย็นตามรางไม้ไผ่ยาวผ่าครึ่ง และมีการกำหนดเวลาในการรับประมานโซเมนจึงจำเป็นจะต้องใช้วิทยายุทธในการหนีบกันละทีนี้ ทานลำบากแต่ท่าทางจะสนุกนะเนี่ย เมื่อคีบได้แล้ว หมี่เย็นต้องทานคู่กับ ซอสทสึยุ หรือซอสหวาน อร่อยเหาะดับร้อนได้อย่างดีเชียวนะ แต่สมัยนี้มีเครื่องหมุนเวียนโซเมนฉบับมินิจำหน่ายแล้ว ลดความกังวลเรื่องเวลาไปได้เยอะเลย ทานกับครอบครัว กลุ่มเพื่อนๆ แล้วพกพาไปไหนมาได้ ดีจริงๆ หรือถ้าหากอยากทำโซเมนเองภายในบ้านแบบสัมผัสกับธรรมชาติหน่อย ก็หาไม้ไผ่ติดตั้งทำเองเลยก็ได้

หลายพื้นที่ในญี่ปุ่นการกินโซเมงเป็นการกินเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ เช่นงานแต่ง งานพบปะ งานประจำปี เพราะอาหารจากข้าวสาลีให้พลังงานและเป็นสิริมงคลอีกด้วยนี่เป็นความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณของญี่ปุ่น ใครจะไปญี่ปุ่นช่วงหน้าร้อนอย่าลืมแวะชิมโซเมง คลายร้อนกันด้วยนะ ถ้ามีซอสทสึยุร้านไหนอร่อยก็มาบอกต่อด้วยนะ...



credit: http://www.marumura.com/food/?id=1151

Tuesday, December 6, 2011

10 อันดับช็อกโกแลตยอดนิยมตลอดกาลในญี่ปุ่น

Top 10 Most Popular chocolate in Japan

อันดับ 10 Almond Chocolate จาก Glico アーモンドチョコレート
เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายมาตั้งแต่ปี 1958 เป็นขนมที่ทำให้คนญี่ปุ่นได้รู้จักกับความอร่อยของ “อัลมอนด์” กันอย่างแพร่หลาย แล้วก็ได้รับการพัฒนารสชาติ และบรรจุภัณฑ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อันดับ 9 Meiji Milk Chocolate (明治ミルクチョコレート)
วางขายตั้งแต่ปี 1926 เป็นขนมช็อกโกแลต ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างโกโก้คัดพิเศษกับนม นอกจากรับประทานเป็นขนมทานเล่นแล้ว คนญี่ปุ่นยังนิยมนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำขนมเค้กช็อกโกแลตชนิดต่างๆ อีกด้วย


อันดับ 8 Choco Flake ของ Morinaga (チョコフレーク)
มีวางขายมาตั้งแต่ปี 1967 เป็น Corn Flake เคลือบช็อกโกแลต ที่จะทำให้คุณได้ลิ้มลองรสชาติหวานหอมของช็อกโกแลตและความกรอบของ Corn Flake ไปพร้อมๆ กัน


อันดับ 7 Choco Ball จาก Morinaga (チョコボール)
วางขายตั้งแต่ปี 1965 เป็นขนมช็อกโกแลตขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มีไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ถั่ว นม คาราเมล สตอเบอร์รี่ บิสกิต ฯลฯ


อันดับ 6 Apollo Chocolate จาก Meiji アポロチョコレート
วางขายตั้งแต่ปี 1969 มีช็อกโกแลตนมและช็อกโกแลตสตรอเบอร์รี่เป็นส่วนผสมหลัก แต่ถ้าไปแถบ Kansai ก็อาจจะได้ลิ้มลองรสชาเขียวหรือถ้าไปแถบ Hokkaido ก็จะมีรสเมล่อน วางขายเป็นสินค้าพิเศษด้วยส่วนชื่อแล้วก็ดีไซน์ของสินค้านี้ก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ยาน Apollo 11 ของอเมริกานั่นเอง เนื่องจากกระแสข่าวของ Apollo 11 ดังมากในช่วงนั้นพอดี


อันดับ 5 Kinoko No Yama จาก Meiji (きのこの山)
วางขายตั้งแต่ปี 1975 เป็นขนมช็อกโกแลตที่เกิดจากไอเดียของพนักงานในบริษัท Meiji เอง ที่อยากลองกินขนมปัง Cracker กับ Apollo Chocolate ก็เลยเกิดการพัฒนามาเป็น ช็อกโกแลตรูปเห็ดในที่สุด (Kinoko ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “เห็ด”) โดยโคนเห็ดทำจากขนมปังกรอบ Cracker ส่วนหัวเห็ดนั้นเป็นช็อกโกแลตขมที่เคลือบช็อกโกแลตนมอีกที


อันดับ 4 Crunky จาก LOTTE (クランキー)
วางขายตั้งแต่ปี 1974 เป็นขนมที่ทำจากช้อกโกแลตนมบวกกับความกรุบกรอบของเม็ดข้าวพอง



อันดับ 3 Tirol Choco チロルチョコ
วางขายตั้งแต่ปี 1962 ด้วยคอนเซ็ปท์ที่ว่าอยากจะให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสชาติของช็อกโกแลตแสนอร่อยในราคาย่อมเยา จึงวางขายในราคาชิ้นละ 10 เยน แล้วก็ขายดิบขายดีอย่างรวดเร็ว ต่อมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ราคาขายต้องอยู่ที่ 15 เยน แต่ด้วยความที่อยากจะคงราคาขายไว้ที่ 10 เยน ก็มีการเพิ่มส่วนผสมของ Nougat หรือว่าตังเมเข้าไปเพื่อให้ได้ราคา 10 เยนเหมือนเดิม แล้วก็ได้รสชาติใหม่ๆ ของขนมช็อกโกแลตขึ้นมาด้วย และแล้วในปี 1979 ด้วยวิกฤติกาณ์น้ำมันแพง ทำให้ต้องขาย Tirol Choco ในราคา 30 เยน ทำให้ยอดขายลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ในตอนนั้น Tirol Choco จะมีชิ้นที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อให้ได้ราคา 10 เยนเหมือนเดิมอีกครั้งจึงได้แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ 3 ชิ้น แล้วก็ขายในราคาชิ้นละ 10 เยนเหมือนเดิมจนได้ฉายาว่า “10 yen Chocolate” เรื่อยมา

ต่อมาเมื่อระบบ Bar Code ถูกนำเข้าไปใช้ในญี่ปุ่น เพื่อให้ฉลากสามารถพิมพ์ Bar Code ได้จึงต้องปรับให้ Tirol Choco มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็เลยขายในราคา 20 เยน แต่ถ้าวางขายตามร้านโชว์ห่วยทั่วไปก็ยังคงมีราคา 10 เยนอยู่ แล้วก็มีขนาดใหญ่พิเศษถือเป็น Premium Size ก็จะมีราคา 30 เยน สรุปแล้วก็คือมี 3 ราคา คือ 10, 20, 30 เยน และมีหลากหลายรสชาติให้เลือก



อันดับ 2 Koeda (小枝) จาก Morinaga

วางขายตั้งแต่ปี 1971 เป็นช็อกโกแลตแท่งเล็กๆ ที่มีข้าวพอง และอัลมอนด์เคลือบอยู่ถึง 2 ชนิด



อันดับ 1 Takenoko No Sato (たけのこの里) จาก Meiji
วางขายตั้งแต่ปี 1979 เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายต่อจาก Kinoko No Yama ต่างกันตรงที่ Kinoko No Yama จะใช้ Cracker ส่วน Takenoko No Sato นั้นจะเป็น Cookie (Takenoko ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “หน่อไม้”)



credit: http://www.marumura.com/
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...