Wednesday, December 28, 2011

8 สิ่งที่คนญี่ปุ่นนึกถึงช่วงวันปีใหม่ (Things to see during New year in Japan)

เรื่องโดย : The 8th Ronin

あけましておめでとうございます!(Akemashite omedetou gozaimasu)
ก่อนที่จะกล่าวประโยคข้างบน ซึ่งแปลว่า "สวัสดีปีใหม่" ได้เต็มปากเต็มคำ รู้หรือเปล่าว่าพอถึงปีใหม่คนญี่ปุ่นเขานึกถึงอะไรกันบ้าง อ๊ะ! ขอแบบเป็นงานเป็นการกันหน่อยนะ ประมาณว่า...ควงแฟนไปสวีทบนหอคอยโตเกียวทาวเวอร์ อันนั้นเอาเก็บไว้คุยกันรอบหน้า^^

ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ (ประมาณกลางเดือนธ.ค. ถึงกลางเดือนมกราคม) เราจะได้เห็นสิ่งของที่ไม่ค่อยชินตาคนไทยส่วนใหญ่หลายอย่าง รวมถึงกิจกรรมอีกหลายรูปแบบที่คนญี่ปุ่นจะทำกันในช่วงนี้ ขอเสนอ 8 สิ่งที่เราจะเห็นในญี่ปุ่นช่วงปีใหม่

The New Year is the most important annual festival in Japan. It is ususlly celebrated between 1st and 7th January. During this period, numerous traditional customs are observed and delightful events are held. Below are some of the scenes that are seen during the period all over Japan. Have you seen any of them? How many do you know? If you know all of them, then you can be called a "Japan expert".

1. อย่างแรกเป็นของประดับบ้านช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่นเรียกว่า Kadomatsu (門松)

Kadomatsu ทำจากไม้ไผ่และกิ่งสน อาจจะเพิ่มเติมสิ่งของมงคลอย่างอื่นไปบ้างแล้วแต่รสนิยมของแต่ละท้องถิ่น แต่โคโดมัตสึจะถูกจัดวางไว้สองฟากฝั่งประตู บริเวณทางเข้าบ้าน หรืออาคารสำนักงาน เพื่อต้อนรับเทพเจ้าแห่งวันปีใหม่ที่จะนำความสุขและความโชคดีลงมาสู่โลกมนุษย์ในปีใหม่

Kadomatsu is a pair of columns made of bamboo and pine branches placed at both sides of the gate for the New Year. They are so placed as a mark through which the god of the year comes down into this world with luck and good health.

2. ของแต่งบ้านช่วงปีใหม่นั้นก็มีอีกอย่าง เรียกว่า Kagamimochi (鏡餅)

Kagamimochi เป็นของแต่งบ้านปีใหม่ ที่ทำออกมาเพื่อบูชาเทพเจ้าแห่งวันปีใหม่ โดยจะจัดวางไว้ที่ Tokonoma ซึ่งเป็นพื้นที่เล็กๆ ที่ถูกจัดไว้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบ้าน Kagamimochi นั้นจะมีโมจิกลมๆ สองลูกวางซ้อนกันอยู่ (ตัวแทนพระจันทร์กับพระอาทิตย์) เมื่อพ้นช่วงปีใหม่ไป ประมาณวันที่ 11 มกราคม โมจิทั้งสองลูกก็จะถูกกินเพื่อเสริมสิริมงคลให้กับคนในบ้าน

Kagamimochi is a layer of two round-shaped rice cakes, symbolizin the moon and the sun each, made as an offering to the god of the year. They are placed at the household altar or the Tokonoma (an alcove), a highly respected place in a Japanese house. They are belived to give power and are eaten after being romoved on 11th January.
3. อย่างต่อมา นักช้อปทั้งหลายคงจะชอบ เรียกว่า Fukubukuro (福袋)หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Lucky Bags (ถุงนำโชค) นั่นเอง

Fukubukuro ส่วนใหญ่จะรวมสินค้าหลายๆ อย่างไว้ภายใน ผู้ซื้อจะไม่รู้เลยว่ามีอะไรอยู่บ้าง แต่มูลค่าของสินค้ามักจะมากกว่าราคาที่จ่ายไป 2 - 3 เท่า (จากราคาขายปลีก) ปกติก็จะมีการจำหน่ายเจ้าถุงนำโชคนี่กันในวันที่ 2 หรือ 3 มกราคม ซึ่งเป็นวันที่ห้างร้านต่างๆ เปิดเป็นวันแรกของปี ซึ่งก็ดีเพราะลูกค้าจะได้มีโอกาสลุ้น "โชคดี" ของตัวเองรับปีใหม่กันด้วย

Fukubukuro, literally means "lucky bag", are grab bags usually sold on 2nd or 3rd January when department stores or shops open for the first time in the New Year. The contents are random and unknow but have items twice or even three times the value of the retail price. A lot of Japanese buy them to get "luck"!

4. อย่างที่สี่ เข้าสู่หมวดของกินกันแล้ว เรียกว่า Osechi-ryori (お節料理)

อาหารปีใหม่ของชาวญี่ปุ่น เพื่อนำโชคดีและสุขภาพแข็งแรงมาให้ในปีใหม่ แต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่นก็จะมีสไตล์เป็นของตัวเอง ส่วนประกอบของอาหารแต่ละอย่างก็จะมีความหมายดีๆ พิเศษๆ ทั้งนั้น ซึ่งอาหารจะถูกจัดวางอย่างสวยงามภายในกล่องอาหาร อาจจะเป็นกล่องใหญ่ชั้นเดียว หรือขนาดย่อมๆ หน่อยแต่หลายชั้นก็ได้ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวรวมถึงแขกที่มาอวยพรปีใหม่ได้รับประทานร่วมกัน

Osechi-ryori is special foods eaten with a wish for luck and good health for the year. Each region and family gas its own style and contents but each ingredient has its own good meanings. All items are put beautifully in a multi-tiered box and are served not only family members but also guests coming for New Year's greetings.

Zoni soup5. อย่างที่ห้า ยังคงเป็นอาหารมงคลช่วงปีใหม่ เรียกว่า Zoni (雑煮)

Zoni เป็นซุปโมจิใส่เนื้อไก่ ปลาและผักต่างๆ ส่วนประกอบและรสชาติก็จะต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ (แต่แอบส่วนตัวนิ๊ดนึง ก็ถ้าเป็นอาหารมงคลช่วงปีใหม่ของญี่ปุ่น จะชอบกินเส้นโซบะปีใหม่ที่เรียกว่า โทชิโคชิโซบะ (Toshikoshi soba 年越し蕎麦) มากกว่า มีความหมายดีเหมือนกัน ประมาณว่าเจริญรุ่งเรืองและอายุยืนยาวนาน เรื่องของเรื่องก็คือเราว่ามันกินง่ายกว่าซุปโมจิอ่ะ^^)

Zoni is a rice cale soup prepared with chicken, fish and vegetables. There are tremendous variations according to regions. Generally speaking, however, Zoni with square-shaped rice cake in clear soup is preferred in eastern Japan, while Zoni with round-shaped rice cakes in Miso soup iseaten in western Japan.

6. อย่างต่อไป มารู้จักกับ ส.ค.ส ฉบับญี่ปุ่นกันบ้าง เรียกว่า Nengajo (年賀状)

อันที่จริง Nengajo ก็เป็นการ์ดธรรมดาๆ ที่ส่งไปอวยพรปีใหม่ให้กับญาติพี่น้อง เพื่อน และเจ้านายนั่นแหล่ะ ชาวญี่ปุ่นจะส่งการ์ดนี้กันก่อนสิ้นเดือนธันวาคม แต่จุดเด่นของ Nengajo ก็คือทางไปรษณีย์เขาจะรีบจัดส่งให้ถือมือผู้รับทั้งหมดในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งคงจะทำให้ผู้รับมีความสุขกับคำอวยพรปีใหม่กันมากทีเดียว แถมบน Nengajo แต่ละใบก็จะมีตัวเลขกำกับอยู่ด้วย ใครโชคดีอาจจะถูกรางวัลพิเศษได้โชคใหญ่รับปีใหม่เลยก็ได้ (ส.ค.ส. แบบนี้อยากได้กันใช่มั้ยล่ะ)

Nengajo is a card exchanged among relatives, friends and bosses as greetings for the New Year. People post them by the end of December so that they arrive at the destination on 1st January.
7. อย่างที่เจ็ดนี้ เด็กๆ จะชอบกันมาก เรียกว่า Otoshidama (お年玉)

Otoshidama ก็คือเงินปีใหม่ ประมาณอั่งเปาของชาวจีน เด็กๆ จะได้รับจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือลุงป้าน้าอา เป็นเงินรางวัลที่ปีที่แล้วเป็นเด็กดี และหวังว่าปีใหม่จะทำตัวเป็นเด็กดียิ่งๆ ขึ้นไป อารมณ์ก็จะประมาณนั้น...

Otoshidama is a New Year's money gift givento children by their parents, grandparents and relatives. This is originally concerned with the custom of giving Kagamimochi out tu children, hoping that they can attain power for the year.

8. อย่างสุดท้ายนี้ ใครๆ ก็ทำกันช่วงปีใหม่ นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ก็ไม่พลาด นั่นคือ Hatsumode (初詣)

Hatsumode ก็คือการไปวัดหรือศาลเจ้าเพื่อขอพรปีใหม่นั่นเอง ใครอยากให้ปีใหม่เป็นปีที่ดี มีโชค มีลาภ สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จะขออะไรก็จัดหนักกันไปตั้งแต่วันปีใหม่เลย ซึ่งศาลเจ้าที่คนญี่ปุ่นนิยมไปขอพรปีใหม่กันมาก ก็เห็นจะเป็นศาลเจ้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ศาลเจ้าอิเสะ (Ise Jingu) รวมถึงศาลเจ้าอิซุโมะ (Izumo Taisha) และศาลเจ้าเมจิ (Meiji Jingu)

Hatsumode is a New Year's visit to a shrine or temple. Pepple do this to pray for luck and good health for the year. Some shrines such as Ise Jingu, Izumo Taisha and Meiji Jingu are packed with visitors during the new year.


เห็นได้ชัดว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ คนญี่ปุ่นเชื่อว่า ถ้าทำแล้วจะปัดเป่าโชคร้าย นำสิ่งดีๆ และความสุขมาให้ทีนี้ ถ้าได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นช่วงปีใหม่ เราก็จะ enjoy กับบรรยากาศได้อย่างเต็มที่เต็มอารมณ์แล้วละนะ ขอให้ あけましておめでとうございます! กันถ้วนหน้าจ้ะ



credit:
http://campus.sanook.com/
http://yokosoen001.clublog.jp/

Wednesday, December 21, 2011

โซเมน - SOMEN (そうめん)

บะหมี่ญี่ปุ่นใช่ว่าจะมีแต่เส้นเหนียวนุ่มกับน้ำซุปร้อนๆ ที่นอกจากอร่อยแล้วยังให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้ด้วย ความหลาก หลายของบะหมี่ญี่ปุ่นนั้นมากมายกว่าที่คิดนะ และตอนนี้กำลังจะเข้าช่วงซัมเมอร์แล้ว อากาศที่ญี่ปุ่นเวลาฤดูร้อนก็ร้อนมากเชียวล่ะ เพราะฉะนั้นบะหมี่ที่นิยมทานกันในช่วงซัมเมอร์ก็มีเหมือนกัน เรียกว่า โซเมน หรือ หมี่เย็น หน้าตาเป็นยังไงมาดูกันดีกว่า

โซเมน - SOMEN (そうめん) มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมากพอสมควร เริ่มมีการเพาะปลูกข้าวสาลีในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิ์องค์ที่สิบของญี่ปุ่น และมีการคิดค้นบะหมี่ต้นตำรับของชาวญี่ปุ่นออกมา ก็คือโซเมนเนี่ยแหละ โดยยุคแรกๆ นั้นเริ่มมาจาก มิวะโซเมน แถบมิวะ ในจังหวัดนารา และขยายผลไปทั่วญี่ปุ่น จึงมีการผลิตเส้นโซเมนในหลายพื้นที่ของญี่ปุ่น เส้นโซเมนจะคล้ายกับขนมจีนบ้านเรา เส้นสีขาวนวล ขนาดบางสุดก็ 1.3 มิลลิเมตร จะเล็กกว่าบะหมี่อย่างอื่นทั้งหมด

มาดูวิธีการผลิตโซเมนจากมิวะ ที่พิถีพิถันมากในการผลิตเส้นโซเมนออกมา โซเมนทำจากข้าวสาลี น้ำบริสุทธิ์ และอุณหภูมิการตากแผ่เส้นนั้นต้องไม่ร้อน อากาศพอดีๆ จึงจะได้เส้นที่สมบูรณ์ออกมาจำหน่าย
เส้นโซเมนมีหลากสีมี ชาเขียวโซเมน อิจิโกะโซเมน อุเมะโซเมน สาเกโซเมน อะโกะโซเมน สีสวยน่ากินทั้งนั้นเลย

ขั้นตอนการต้มเส้นโซเมงก่อนนำไปประกอบอาหาร ตั้งน้ำ ใส่เส้น รอให้เดือด ยกเส้นลงมาเทน้ำร้อนออก ยีเส้นไม้ให้ติดกัน ง่ายใช่มั้ยล่ะ เส้นโซเมนสามารถดัดแปลงได้หลายเมนู ส่วนโซเมนที่มาพร้อมกับน้ำซุปร้อนๆ ที่ทานในฤดูหนาวเรียกว่า นิวเมน

โซเมนที่ไหลไปตามไม่ไผ่ ในร้านอาหารเรียกว่า โซเมน นากาชิ การทานอย่างนี้ต้องใช้ความชำนาญในการคีบเส้นขึ้นมาหน่อยนะ เพราะว่าเส้นโซเมนจะถูกไหลมาตามน้ำเย็นตามรางไม้ไผ่ยาวผ่าครึ่ง และมีการกำหนดเวลาในการรับประมานโซเมนจึงจำเป็นจะต้องใช้วิทยายุทธในการหนีบกันละทีนี้ ทานลำบากแต่ท่าทางจะสนุกนะเนี่ย เมื่อคีบได้แล้ว หมี่เย็นต้องทานคู่กับ ซอสทสึยุ หรือซอสหวาน อร่อยเหาะดับร้อนได้อย่างดีเชียวนะ แต่สมัยนี้มีเครื่องหมุนเวียนโซเมนฉบับมินิจำหน่ายแล้ว ลดความกังวลเรื่องเวลาไปได้เยอะเลย ทานกับครอบครัว กลุ่มเพื่อนๆ แล้วพกพาไปไหนมาได้ ดีจริงๆ หรือถ้าหากอยากทำโซเมนเองภายในบ้านแบบสัมผัสกับธรรมชาติหน่อย ก็หาไม้ไผ่ติดตั้งทำเองเลยก็ได้

หลายพื้นที่ในญี่ปุ่นการกินโซเมงเป็นการกินเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ เช่นงานแต่ง งานพบปะ งานประจำปี เพราะอาหารจากข้าวสาลีให้พลังงานและเป็นสิริมงคลอีกด้วยนี่เป็นความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณของญี่ปุ่น ใครจะไปญี่ปุ่นช่วงหน้าร้อนอย่าลืมแวะชิมโซเมง คลายร้อนกันด้วยนะ ถ้ามีซอสทสึยุร้านไหนอร่อยก็มาบอกต่อด้วยนะ...



credit: http://www.marumura.com/food/?id=1151

Tuesday, December 6, 2011

10 อันดับช็อกโกแลตยอดนิยมตลอดกาลในญี่ปุ่น

Top 10 Most Popular chocolate in Japan

อันดับ 10 Almond Chocolate จาก Glico アーモンドチョコレート
เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายมาตั้งแต่ปี 1958 เป็นขนมที่ทำให้คนญี่ปุ่นได้รู้จักกับความอร่อยของ “อัลมอนด์” กันอย่างแพร่หลาย แล้วก็ได้รับการพัฒนารสชาติ และบรรจุภัณฑ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อันดับ 9 Meiji Milk Chocolate (明治ミルクチョコレート)
วางขายตั้งแต่ปี 1926 เป็นขนมช็อกโกแลต ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างโกโก้คัดพิเศษกับนม นอกจากรับประทานเป็นขนมทานเล่นแล้ว คนญี่ปุ่นยังนิยมนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำขนมเค้กช็อกโกแลตชนิดต่างๆ อีกด้วย


อันดับ 8 Choco Flake ของ Morinaga (チョコフレーク)
มีวางขายมาตั้งแต่ปี 1967 เป็น Corn Flake เคลือบช็อกโกแลต ที่จะทำให้คุณได้ลิ้มลองรสชาติหวานหอมของช็อกโกแลตและความกรอบของ Corn Flake ไปพร้อมๆ กัน


อันดับ 7 Choco Ball จาก Morinaga (チョコボール)
วางขายตั้งแต่ปี 1965 เป็นขนมช็อกโกแลตขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร มีไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ถั่ว นม คาราเมล สตอเบอร์รี่ บิสกิต ฯลฯ


อันดับ 6 Apollo Chocolate จาก Meiji アポロチョコレート
วางขายตั้งแต่ปี 1969 มีช็อกโกแลตนมและช็อกโกแลตสตรอเบอร์รี่เป็นส่วนผสมหลัก แต่ถ้าไปแถบ Kansai ก็อาจจะได้ลิ้มลองรสชาเขียวหรือถ้าไปแถบ Hokkaido ก็จะมีรสเมล่อน วางขายเป็นสินค้าพิเศษด้วยส่วนชื่อแล้วก็ดีไซน์ของสินค้านี้ก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก ยาน Apollo 11 ของอเมริกานั่นเอง เนื่องจากกระแสข่าวของ Apollo 11 ดังมากในช่วงนั้นพอดี


อันดับ 5 Kinoko No Yama จาก Meiji (きのこの山)
วางขายตั้งแต่ปี 1975 เป็นขนมช็อกโกแลตที่เกิดจากไอเดียของพนักงานในบริษัท Meiji เอง ที่อยากลองกินขนมปัง Cracker กับ Apollo Chocolate ก็เลยเกิดการพัฒนามาเป็น ช็อกโกแลตรูปเห็ดในที่สุด (Kinoko ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “เห็ด”) โดยโคนเห็ดทำจากขนมปังกรอบ Cracker ส่วนหัวเห็ดนั้นเป็นช็อกโกแลตขมที่เคลือบช็อกโกแลตนมอีกที


อันดับ 4 Crunky จาก LOTTE (クランキー)
วางขายตั้งแต่ปี 1974 เป็นขนมที่ทำจากช้อกโกแลตนมบวกกับความกรุบกรอบของเม็ดข้าวพอง



อันดับ 3 Tirol Choco チロルチョコ
วางขายตั้งแต่ปี 1962 ด้วยคอนเซ็ปท์ที่ว่าอยากจะให้เด็กๆ ได้ลิ้มลองรสชาติของช็อกโกแลตแสนอร่อยในราคาย่อมเยา จึงวางขายในราคาชิ้นละ 10 เยน แล้วก็ขายดิบขายดีอย่างรวดเร็ว ต่อมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ราคาขายต้องอยู่ที่ 15 เยน แต่ด้วยความที่อยากจะคงราคาขายไว้ที่ 10 เยน ก็มีการเพิ่มส่วนผสมของ Nougat หรือว่าตังเมเข้าไปเพื่อให้ได้ราคา 10 เยนเหมือนเดิม แล้วก็ได้รสชาติใหม่ๆ ของขนมช็อกโกแลตขึ้นมาด้วย และแล้วในปี 1979 ด้วยวิกฤติกาณ์น้ำมันแพง ทำให้ต้องขาย Tirol Choco ในราคา 30 เยน ทำให้ยอดขายลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ในตอนนั้น Tirol Choco จะมีชิ้นที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อให้ได้ราคา 10 เยนเหมือนเดิมอีกครั้งจึงได้แบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ 3 ชิ้น แล้วก็ขายในราคาชิ้นละ 10 เยนเหมือนเดิมจนได้ฉายาว่า “10 yen Chocolate” เรื่อยมา

ต่อมาเมื่อระบบ Bar Code ถูกนำเข้าไปใช้ในญี่ปุ่น เพื่อให้ฉลากสามารถพิมพ์ Bar Code ได้จึงต้องปรับให้ Tirol Choco มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็เลยขายในราคา 20 เยน แต่ถ้าวางขายตามร้านโชว์ห่วยทั่วไปก็ยังคงมีราคา 10 เยนอยู่ แล้วก็มีขนาดใหญ่พิเศษถือเป็น Premium Size ก็จะมีราคา 30 เยน สรุปแล้วก็คือมี 3 ราคา คือ 10, 20, 30 เยน และมีหลากหลายรสชาติให้เลือก



อันดับ 2 Koeda (小枝) จาก Morinaga

วางขายตั้งแต่ปี 1971 เป็นช็อกโกแลตแท่งเล็กๆ ที่มีข้าวพอง และอัลมอนด์เคลือบอยู่ถึง 2 ชนิด



อันดับ 1 Takenoko No Sato (たけのこの里) จาก Meiji
วางขายตั้งแต่ปี 1979 เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางขายต่อจาก Kinoko No Yama ต่างกันตรงที่ Kinoko No Yama จะใช้ Cracker ส่วน Takenoko No Sato นั้นจะเป็น Cookie (Takenoko ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า “หน่อไม้”)



credit: http://www.marumura.com/

Friday, November 18, 2011

ปรับสมดุลย์ร่างกาย ด้วยอาหารญี่ปุ่นตามธาตุเกิด

ว่ากันด้วยเรื่องอาหารการกินทั้งคนไทยและญี่ปุ่น มักจะมีศิลปะเป็นของตัวเองแบบชัดเจน ตามความชอบ ตามภูมิอากาศ ตามประเพณีก็แล้วแต่นะค่ะ แต่ถ้าจะให้เข้ากับตัวเราหรือเหมาะมากที่สุด เพราะบางคนหาอะไรกินไม่เหมือนชาวบ้านเขา เช่นหนาวจะตายยังจะกินไอสครีมอีก ก็คนมันชอบอ่ะ กินแล้วก็ไม่เห็นเป็นไรนิ หรือมาที่เมืองนี้ต้องกินสิ่งนี้ แต่ดันจะกินแต่อาหารเดิมๆ อาหารบ้านเกิดตลอด ก็ได้ถ้าแถวนั้นมีก็ไม่ผิด บางคนโตจะตายอยู่แล้วยังไม่กินผักอีก ก็ต้องปล่อยเขาไป ตามความชอบ เอาเป็นว่าเรื่องของคุณ...

แต่ที่จะบอกน่ะ เป็นลักษณะการกินตามธาตุของเดือนเกิดว่าถ้ากินแบบนี้แล้วจะดีก็คงกินมันอยู่นั่นแหละ แต่จะบอกว่าเอาแค่เฉพาะอาหารญี่ปุ่นแล้วกัน แค่ถ้าไปกินแล้ว..ก็สั่งมากินด้วย จะดีเรื่องสุขภาพ และลักษณะบุคลิกของเรา

ปรับสมดุลย์ร่างกาย ด้วยอาหารญี่ปุ่นตามธาตุเกิด
(Healthy Body Balance with Japanese Food)

เดือน กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน
ธาตุไฟ (ร้อนแรง เร่งรีบ) ออกจะเป็นคนเจ้าอารมย์นิดๆ ทุกอย่างต้องดูดี ครบเครื่อง ประเภท all in one ควรจะกิน ชุดเบนโต เอาแบบครบทุกอย่าง ทั้งซุป เครื่องเคียง ปลาดิบ สลัด แล้วแต่ความชอบเลย แถมสั่งมาทีแทบจะเต็มโต๊ะ ดูดีจริงๆ แต่จริงๆ แล้วที่ญี่ปุ่นมันก็แค่ข้าวกล่อง แต่ที่นี่ไม่ บางทีก็แบ่งปันได้ด้วย ก็มาซะเยอะไปหมด ดูมีน้ำใจขึ้นมาทันที จะเป็นที่ถูกใจคนรอบข้างไปด้วย แล้วที่ยังดีต่อสุขภาพอีกก็คือ ได้รับครบทั้ง 5 หมู่ เพราะธาตุไฟนั้นมักจะเลือกกินอะไรก็ได้ที่มันเร็วๆ คิดไม่ออกก็สั่งมันเป็นอยู่อย่างเดียวเช่น เคยกินปลาดิบหรือทงคัตสึก็จะสั่งมันอยู่นั้นแหละ แม้ว่าร่างกายจะเผาผลาญเนื้อสัตว์ได้ดี แต่หากกินไขมันที่ย่อยยาก จะทำให้มีความร้อนในร่างกายมากเกินไปจนป่วยไข้ได้

เดือน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม
ธาตุลม (อ่อนไหว เรียบง่าย เข้าใจยาก) ดูสับสนยังไงไม่รู้ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ขึ้นๆ ลงๆ เอาใจยาก หรือบางคนเอาแต่ใจซะด้วย คนธาตุนี้ควรกินอาหารเผ็ดร้อน ซึ่งถ้าเป็นอาหารไทยนั้นจะไม่ยาก แต่ถ้าเป็นอาหารญี่ปุ่นแล้วต้องดูดีๆ เพราะบางอย่างเผ็ดไม่จริง หรือต้องกินของเย็นๆ สดๆ ประกอบด้วย เช่น พวกวาซะบิ กินเปล่าๆ คงไม่ไหว เอาเป็นว่าแค่เผ็ดร้อนก็พอ พวกแกงกะหรี่ต่างๆ ถึงจะถูกตามธาตุ จัดไป จะเนื้อ จะไก่ จะหมูก็ได้ แต่พวกนี้จะย่อยยากสำหรับคนธาตุลม และไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียได้ ทางที่ดีน่าจะเป็น ปลา หรือกุ้ง ดีกว่า แบบนานๆ กินทีเพื่อปรับธาตุในตัวให้สมดุลย์

เดือน สิงหาคม กันยายน ตุลาคม
ธาตุน้ำ (นักคิด นิ่งเฉย รสนิยมดี) ดูๆ แล้วน่าฉลาดเลือก ในการกินมากที่สุดใน 4 ธาตุ แต่กลับมีปัญหามากที่สุด กับการกิน ก็เลือกมาก (เยอะ) ออกแนวลังเลในบางที จริงๆ ก็กินได้แทบจะทุกอย่าง แต่ไม่ให้เยอะเกินไปหรือถี่เกินไป รู้ว่าบางอย่างมีประโยชน์มากก็กินซะเกินพอดี ก็ต้องแนะนำว่า ถ้าจะกินอาหารญี่ปุ่น ก็ต้องกินของแพงๆ เข้าไว้ จะได้ไม่กินบ่อยๆ อะไรก็ได้ที่แพงๆ กินแล้วถ่ายรูปไว้ด้วยนะ จะได้บอกคนอื่นว่าไปกินมาแล้ว คราวนี้จะได้ไม่กินซ้ำอีก แต่ที่ดีที่สุดก็คือ พวกชา ชาเขียว ชาเขียวผสมน้ำผึ้ง ผสมสมุนไพรต่างๆ ก็ยิ่งดี จะร้อนจะเย็นก็ได้ จะช่วยปรับธาตุในร่างกายได้ดี แต่แนะนำว่าร้อนดีกว่าค่ะ

เดือน พฤษจิกายน ธันวาคม มกราคม
ธาตุดิน (หนักแน่น อดทน แตกหัก) ก็คือไม่ยอมใครง่าย โกรธยาก แต่โกรธแล้วบางทีเกลียดเลย เชื่อมั่นในตัวตนสูง หรือถ้าเชื่อใครแล้วก็จะเชื่ออย่างไม่คิด จะกินก็เรื่องมากนิดหน่อย แต่ก็ง่ายที่สุด ถ้าต้องถามว่าจะไปกินอะไรดี เขาจะตอบแบบไม่ต้องคิดมาก คือแล้วแต่คุณ ถ้าเลือกถูกใจก็โชคดีไป แต่ถ้า.... ขอแนะนำว่าให้ไปกินพวกอาหารเส้นต่างๆ โซบะ โซเมง อุด้ง ได้หมด แต่ดีที่สุดน่าจะเป็น "โซเมง" เป็นบะหมี่ที่นิยมทานในหน้าร้อนเช่นกัน เส้นของโซเมงทำจากข้าวสาลี (sobako-ข้าวสาลี) ดังนั้นเส้นจึงมีสีขาวนวลและเส้นจะบางกว่าโซบะ เส้นโซเมงจะนุ่มสามารถดัดแปลงทำอาหารได้หลายอย่าง จะทำแบบเย็นก็ได้ ทำให้สดชื่นดีค่ะ แต่คนธาตุนี้กินแป้งมากๆ ไม่ดี แต่ก็ต้องกินบ้างไม่ใช่ไม่กินเลย..


credit: เรื่องโดย : ซูชิโนะ | http://www.marumura.com/food/?id=1896

Thursday, September 29, 2011

10 อันดับ ของฝากยอดนิยมในญี่ปุ่น

10 อันดับของฝากยอดนิยมในญี่ปุ่น (10 most popular from Japan)

อันดับ 10 Tako Yaki (たこ焼き) จากจังหวัด Osaka ถ้าพูดถึง Tako Yaki แล้วก็ต้องที่ Osaka เท่านั้น


อันดับ 9 Haginotsuki (萩の月) แห่งจังหวัด Miyagi(宮城)เป็นเค้กฟองน้ำคุณภาพเยี่ยม (カステラ:Kasutera) ที่สอดไส้ครีมคัสตาร์ดรสหวานกำลังพอเหมาะ เป็นของฝากที่พลาดไม่ได้ของเซนได เลยทีเดียว


อันดับ 8 Marusei Butter Sando (マルセイバターサンド) ของจังหวัด Hokkaido (北海道) เป็นบิสกิต สอดไส้ครีม White Chocolate และลูกเกด


อันดับ 7 Momiji Manju (もみじまんじゅう) ของฝากจากจังหวัด Hiroshima (広島) เป็นขนม Manju ไส้ถั่วแดงที่คนญี่ปุ่นนิยมทานกับน้ำชา นอกจากความหวานอร่อยของขนมแล้ว ความน่ารับประทานของขนมที่เป็นที่ออกแบบเป็นรูปใบเมเปิ้ล ก็ทำให้ Momijimanju เป็นของฝากขึ้นชื่อของ Hiroshima ไปเลย


อันดับ 6 Shiroikoibito (白い恋人) ของฝากจาก Hokkaido (北海道) ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นคุ้กกี้สอดไส้ White Chocolate ซี่งเนื้อคุ้กกี้จะถูกอบด้วยความเกรียมที่กำลังพอดี บวกกับ White Chocolate ที่ทำจากน้ำนมอันเลื่องชื่อของ Hokkaido ทำให้ Shiroi Koibito เป็นที่ติดอกติดใจทั้งของคนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามสนามบินแทบจะทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่น


อันดับ 5 Uirou (ういろう) ของฝากจากจังหวัด Aichi (愛知) เป็นขนมขึ้นชื่อของเมือง Nagoya (名古屋) ที่เป็นที่รู้จักกันดีของคนญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นขนมที่มีมาตั้งแต่สมัยแรกในยุคเอโดะ (江戸時代) ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าที่นำไปนึ่ง รสหวานอ่อน ๆ นุ่ม ๆ มีทั้งรสน้ำตาลขาว น้ำตาลดำ ถั่วแดง และชาเขียว เป็นขนมที่คนญี่ปุ่นนิยมทานกับน้ำชาเป็นลำดับต้นๆ เลยทีเดียว


อันดับ 4 Jagapokkuru (じゃがポックル) ของฝากจากจังหวัด Hokkaido รูปลักษณ์ภายนอกก็เป็นแค่มันฝรั่งแท่งทอดกรอบทั่วไป แต่รสชาตินั้นสุดยอด ผลิตโดยคาลบี้ ที่พวกเรารู้จักกันดี ภายใต้แบรนด์ Potato Farm ออกวางขายตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2006 ในช่วงแรกๆ ก็ไม่ได้มีการโฆษณาแต่อย่างใด ด้วยความอร่อย และเสียงปากต่อปากจากผู้ชิมทั้งหลาย ทำให้ขายดีถึงขนาดที่จะต้องจำกัดจำนวนซื้อต่อคนต่อครั้งกันเลยทีเดียว ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น ทำให้สามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น ตามสนามบินและร้านตัวแทนจำหน่ายบางแห่ง


อันดับ 3 Akafuku (赤福) ของฝากจากเมือง Ise (伊勢) จังหวัด Mie (三重) เป็นขนมดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่สมัย Houei (宝永) ประมาณปี 1707 คือขนมโมจิไส้ถั่วแดง ที่มีรสชาติแสนอร่อย และถือว่าเป็นขนมมงคลที่แสดงถึงความจริงใจของผู้ให้ที่จะมอบความสุขให้แก่ผู้รับ ขนมนี้จึงนิยมเป็นของฝากของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
อันดับที่ 2 Gougouichi no Butaman (551の豚まん) ของฝากขึ้นชื่อของจังหวัด Osaka เป็นซาลาเปาไส้หมูบดรวมกับหอมหัวใหญ่ ผลิตโดยร้านอาหารจีนขึ้นชื่อของ Osaka ที่มีชื่อว่าร้าน 551 Horai (551蓬莱) ซึ่งมียอดขายเฉลี่ยถึงวันละ 140,000 ลูก

ส่วนขายซาลาเปาแบบซื้อกลับบ้านในตัวเมือง Osaka มีสาขาอยู่มากมาย ทั้งที่ Namba, Shinzaibashi, และ Umedaภัตตาคารอาหารจีนในสนามบินคันไซ


อันดับ 1 Karashi Mentaiko (辛子明太子) ของฝากจากจังหวัด Fukuoka (福岡) Mentaiko ก็คือไข่ปลาคอต Karashi คือรสเผ็ด Karashi Mentaiko เป็นการนำไข่ปลาคอตไปหมักกับเกลือแล้วปรุงรสเผ็ดด้วยพริกนั่นเอง เล่ากันว่า Karashi Mentaiko นั้นเกิดในช่วงสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลี และเนื่องจากเมือง Fukushima เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น จึงทำให้ Karashi Mentaiko เป็นอาหารที่ดัดแปลงมาจากการหมักกิมจิของประเทศเกาหลีนั่นเอง และในปี Showa ที่ 50 เมื่อรถไฟ Shinkanzen สาย Sanyo ที่วิ่งระหว่างสถานี Shin Osaka ถึงเมือง Hakata เริ่มเปิดให้บริการ ทำให้ Karashi Mentaiko เป็นที่รู้จักมากขึ้น ปัจจุบันนิยมนำ Karashi Mentaiko ไปทำ Onigiri และสปาเกตตี้ รวมถึงอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย



ขอบคุณข้อมูลจาก : http://gurutabi.gnavi.co.jp
ที่มา : http://www.marumura.com/japanist_talkative/?id=1526

Sunday, September 25, 2011

Japanese Foods iPhone Cases เคสสำหรับคนรักอาหารญี่ปุ่น

iPhone Cases เคสสำหรับคนรักอาหารญี่ปุ่น

ใครรักอาหารญี่ปุ่นเชิญทางนี้! ...แน่นอนว่าโทรศัพท์หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้องคงต้องเป็น "เทคโนโลยีการสื่อสาร" ที่ผู้คนนิยมใช้กันมากที่สุดยี่ฮ้อหนึ่งในยุคนี้สมัยนี้ คงหนีไม่พ้นต้องมีชื่อยี่ฮ้อ "iPhone" ติดอยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน เพราะว่าไอโฟนนั้นเป็นที่นิยมไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่นิยมไปทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นแถบยุโรป อเมริกา จีน เกาหลี และในอีกหลายๆประเทศทั่วโลก

ทำไมความนิยมในการใช้ iPhone ถึงมีจำนวนมากมายขนาดนั้น?

นั่นเป็นเพราะว่า iPhone มีความโดดเด่นมากมาย ถือว่าเป็นเทคโนโลยีแห่งยุคก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ แบรนด์ ฟังชั่นการใช้งานที่ทันสมัย เกมส์ รวมถึงแอพพลิเคชั่น(Application) ต่างๆอีกมากมาย ที่ถูกสร้างมาจากนักออกแบบแอพพลิเคชั่นiPhone ทั่วโลก

จากความนิยมที่มากมายล้นเหลือเหล่านี้นี่เอง ทำให้ iPhone เป็นที่ต้องการมากในท้องตลาด ฉันใดก็ฉันนั้นเวลามีของที่ใครใช้กันมากๆ มันก็จะเกล่อ ดูไม่แตกตาง และนี่จึงเป็นที่มาของความต้องการสร้างความโดดเด่น และแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ด้วยการใส่ "เคส หรือหน้ากาก (Case)" ให้กับ iPhone

การดีไซด์ Case ของ iPhone นั้นมีหลากหลายตามแต่จินตนาการของผู้ออกแบบ บางส่วนก็ออกแบบตามการ์ตูน หรือเกมส์ดังๆ และมีอีกมากมายที่ใส่ไอเดียลงไปทำให้เกิิดเป็นงานศิลปะที่โด่ดเด่น อย่างเช่นเคสที่จะทำเสนอในวันนี้ นั่นคือ

iPhone Cases เคสสำหรับคนรักอาหารญี่ปุ่น

Wednesday, September 21, 2011

เทคนิคการสไลซ์ผักแบบญี่ปุ่น

เทคนิคการสไลซ์ผักแบบญี่ปุ่น

(Japanese Vegetable Slicing & Cutting Techniques)

เหล่าสาวกอาหารญี่ปุ่นคงเคยเห็นมากิ ที่ห่อด้วยแผ่นผักสไลซ์บางเฉียบแทนแผ่นสาหร่าย ซึ่งดูแล้วเหมือนทำง่ายเพราะคงใช้อุปกรณ์ปอกสไลซ์ผักที่ทันสมัย แต่ความจริงการสไลซ์พืชผักชนิดหัวให้เป็นแผ่นนั้น เหล่าเซฟญี่ปุ่นมีอุปกรณ์เพียงแค่มีดคมๆ 1 เล่ม เท่านั้น แต่ความสำคัญอยู่ที่ฝีมือและเทคนิคที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง ซึ่งเรานำมาฝากให้คุณได้ลองฝึกทำดูบ้างค่ะ



เทคนิควิธีการสไลซ์ผักแบบญี่ปุ่น

1. ปอกเปลือกผักหัวที่ต้องการสไลซ์ โดยให้จับมีดด้วยมือขวา ถือหัวผักด้วยมือซ้าย และวางให้ขนานกับใบมีด จากนั้นหมุนมือซ้ายพร้อมกับกดใบมีดลง สไลซ์เปลือกออกจนหมด

2. ตอกไม้จิ้มฟัน 2 อัน เข้าไปที่เนื้อมีด โดยให้คมมีดจมอยู่ในเนื้อไม้จิ้มฟันครึ่งหนึ่ง และให้ไม้จิ้มฟันห่างกันเกินความยาวของหัวผักเล็กน้อย

3. วางหัวไช้เท้าลงบนเขียง ใช้มือซ้ายกดให้แนบกับเขียง จับมีดด้วยมือขวาให้แน่น หันมีดด้านที่มีไม้จิ้มฟันแนบกับหัวไช้เท้า ลากมีดไปทางซ้ายเรื่อยๆ จนสไลซ์ผักต่อไม่ได้


วิธีนี้ทำให้ได้แผ่นผักสไลซ์บางและยาวไว้ใช้ห่อมากิ หรือสามารถหั่นทำเป็นผักฝอยได้เช่นกัน โดยตัดเป็นแผ่นผักสไลซ์ให้มีความยาวเท่าๆกัน แล้วนำมาวางซ้อนหลายๆชิ้นก่อนใช้มีดซอยเป็นเส้นฝอยๆ แล้วนำไปล้างในน้ำเย็นจัด พักให้สะเด็ดน้ำ เท่านี้ผักที่เราสไลซ์เอาไว้ก็กลายเป็นผักหั่นฝอยสดกรอบ แกล้มคู่กับปลาดิบได้อร่อยไม่แพ้กันเลยค่ะ


credit: นิตยสาร Health & Cuisine ฉบับที่ 128

Saturday, September 17, 2011

ขนมโมจิ (Mochi) : รูปแบบของโมจิ (Type of Mochi)

Mochi Kinako
Daifukumochi
Zoni soup
Kagami mochi - Kagami biraki
ขนมโมจิ (Mochi)

มาถึงโมจิในรูปแบบต่างๆ โมจิสามารถนำมาดัดแปลงเป็นขนมหรืออาหารได้หลากหลาย มาดูกันซิว่ามีอะไรบ้าง


โมจิในรูปแบบต่างๆ (Type of Mochi)


• พูดถึงโมจิที่นิยมทานในช่วงปีใหม่ก่อนดีกว่าก็มี Kagami mochi หรือ Kagami biraki เป็นโมจิที่ถูกตบแต่งแบบโบราณเอาไว้ใช้ในงานพิธีกรรมทางศาสนาและเทศกาลต่างๆ


• ต่อมาคือ Kinako mochi โมจิแห่งความโชคดี มีวิธีทำแบบดั้งเดิมก็คือ นำโมจิไปย่างกับไฟอ่อนๆ ก่อนและชุบด้วยซอสถั่วเหลืองที่ผสมน้ำกับน้ำตาลเอาไว้ สุดท้ายก็เอาไปคลุกกับผงถั่วเหลืองหวานเรียกว่า Kinako ก็เสร็จเรียบร้อย


ซุป Zoni ก็คือซุปที่คนญี่ปุ่นจะทานตอนวันปีใหม่ เป็นซุปที่มีโมจิ มีผักและคามาโบะโกะ อยู่ในถ้วยเดียวกัน สมัยก่อนเป็นอาหารหลักของของนักรบซามูไรที่ทำทานในช่วงการออกศึก


• เมนูถัดมาน่าจะเป็นของโปรดใครหลายๆคน Daifukumochi ขนมญี่ปุ่นยัดไส้หวาน มีหลากสีสันสวยงาม โรยด้วยไอซ์ซิ่ง หรือ ผงโกโก้ สมัยก่อนถูกเรียกว่า Harabuto (腹太餅) แปลว่า เค้กข้าวท้องหนา ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น DaifukuMochi (大腹饼) คือมีโชคยิ่งใหญ่ เพราะว่าในภาษาญี่ปุ่นนั้นคำว่า Fuku (腹) ที่แปลว่า ท้อง และ Fuku (福) อีกคำที่แปลว่าโชคดี พ้องเสียงเหมือนกันเลยให้ใช้ชื่อ ไดฟุกุโมจิ ดีว่าเพราะเป็นชื่อมงคลมากกว่านั่นเอง แล้วจะมี "ไดฟุกุโมจิ" แบบไหนบ้างมาดูกันต่อเลย


"ไดฟุกุโมจิ" รูปแบบต่างๆ (Type of Daifukumochi)

1. แบบแรกก็คือ Yomogi Daifuku เป็นขนมโมจิที่นิยมทานกันในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ทำมาจากโมจิผสมกับใบของต้น Yomogi จะได้แป้งออกมาเป็นสีเขียวและสอดไส้ถั่วแดงลงไปอีก

2. แบบต่อมา Ichigo Daifuku เป็นไดฟุกุที่ได้รับความนิยมสูงมากเลยนะ เพราะเป็นโมจิที่สอดไส้ครีมหรือถัวแดงเอาไว้ในชั้นแรกและชั้นในสุดคือสตรอ เบอร์รี่ผลโต รสชาติจะอมหวานอมเปรี้ยวหอมอร่อยเชียวนะ

3. Yukimi Daifuku เป็นขนมโมจิสอดไส้ไอศครีมผลิตโดย Lotte ตั้งแต่ปี 1980 เป็นที่นิยมมากเพราะรสชาตินุ่มนวล และหาทานได้ง่ายอีกด้วย

Sakura mochi kansai4. ต่อมา Dango โมจิลูกกลมๆ เล็กๆ ที่เสียบไม้เรียงกันอย่างสวยงาม จริงๆ Dango (団子) แปลว่า เกี๊ยว สรุปว่าเป็นเกี๊ยวญี่ปุ่นก็แล้วกัน ขนมดังโกะหาซื้อทานได้ตลอดทั้งปี และ ดังโกะที่มีสามสี สีชาว สีชมพู สีเชียว เรียกว่า Hanami Dango นิยมทานกันในช่วงชมดอกซากุระบานจ้า ดังโกะมีหลากหลายรสชาติมาก มีทั้งถั่วแดง ชาเขียว เกาลัด มันหวาน ถั่วต้มหวาน ราดซอสถั่วเหลืองก็มี และยังมีแบบนำเต้าหู้มาผสมโมจิแล้วย่างต่อด้วยราดซอสต่างๆอีกต่างหาก น่าอร่อยๆทั้งนั้นเลย

5. ในหน้าร้อนจะนิยมทาน Warabimochi ก็ไม่ได้ทำมากโมจิซะทีเดียว เป็นวุ้นที่คลุกกับผงถั่วเหลืองหวาน ในแถบคันไซและโอกินาว่าจะนิยมทานกันมาก มีรถวิ่งมาขายเหมือนรถไอศครีมเลย

6. ในหน้าหนาวก็มีซุป Oshiruko หรือ Ozenzai ก็คือถั่ว Azuki หรือถั่วแดงต้มและบด ท้อปปิ้งด้วยโมจิ คนญี่ปุ่นเค้าจะทานสิ่งนี้เพื่อให้ร่างกายได้อบอุ่น และบางทีก็มี บ๊วยเค็มหรือของเปรี้ยวเสิร์ฟเคียงมาด้วย และในบางพื้นที่ยังทานซุปชิรุโกะในวันขึ้นปีใหม่อีกด้วย

7. นอกจากนี้ยังมี Sakuramochi ขนมโมจิญี่ปุ่นทำด้วยโมจิสีชมพูของดอกซากุระ โปะด้วยถั่วแดงและปิดด้วยใบไม้ของต้นซากุระและ Hishi mochi โมจิที่ใช้ในเทศกาลเด็กผู้หญิงฮินะมัทสึริ คือโมจิที่มีก้อนสี่เหลี่ยมสามสี สีชมพู สีขาว และสีเขียว

Wagashi8. ต่อมาคือ Hanabiramochi ขนมหวานเสิร์ฟตอนทานกับชาในครั้งแรกของปีใหม่ เริ่มทานกันในปี 1868 จนถึงปัจจุบัน เป็นขนมในโอกาสพิเศษสำหรับครอบครัวในวันปีใหม่เท่านั้น

9. แล้วก็ Manju ก็เป็นส่วนหนึ่งของโมจิด้วยเหมือนกันนะ เดิมที่จีนเรียกว่า มันโถว ญี่ปุ่นนำเข้ามาในสมัยนารา และเริ่มเรียกว่า มันจู ตั้งแต่นั้นมา มันจูเป็นขนมญี่ปุ่นที่มีหลากหลายไส้มาก มีทั้งไส้ถั่วแดง ฟักทอง ชาเขียว เป็นต้น


ในปัจจุบันมีแพ็คเกจขนมญี่ปุ่นออกมาขายเยอะแยะไปหมด และยังมีสูตรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย ส่วนใหญ่จะเน้นเพื่อสุขภาพกันซะส่วนใหญ่ ยังมีเครื่องนวดโมจิออกมาอีกด้วย สมัยก่อนต้องทำกันเองที่บ้านแต่สมัยนี้อะไรก็สะดวกสบายไปซะหมด แค่ซื้อโมจิสำเร็จรูปมาเข้าไมโครเวฟก็ทานได้แล้ว


เป็นยังไงกันบ้างได้รู้จักอาหารว่างญี่ปุ่นกันมากขึ้นบ้างหรือเปล่า จริงๆ แล้วขนมญี่ปุ่นต้องเรียกว่า วากาชิ เรียก โมจิ คนญี่ปุ่นอาจจะงงกันได้นะค่ะ


credit: http://www.marumura.com
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...