Friday, November 27, 2009

พิพิธภัณฑ์ราเม็ง (Shin Yokohama Raumen Museum)

Chopsticks are most commonly made of bamboo or plastic, but are also made of metal, bone, ivory, and various types of wood. The pair of sticks is maneuvered in one hand, between the thumb and fingers, and used to pick up pieces of food. In Japanese, chopsticks are called hashi, written 箸. They are also known as otemoto (おてもと) or o-temoto, a phrase commonly printed on the wrappers of disposable chopsticks.

Styles of Japanese are short to medium length sticks that taper to a pointed end. Japanese chopsticks are traditionally made of wood and are lacquered. Some chopstick sets include two lengths of chopsticks - shorter ones for women and longer ones for men. Child-sized chopsticks are widely sold.
พิพิธภัณฑ์ราเม็ง (Shin Yokohama Raumen Museum)

มาถึงที่โยโกฮาม่า จากสถานีชินโยโกฮาม่าขึ้นไปทางเหนือ ไม่ไกลนัก เราจะพบ พิพิธภัณฑ์ราเม็ง (Shin Yokohama Raumen Museum) หรือที่เรียกกันว่า ราเม็งมิวเซียม นั่นเองค่ะ เปิด 11.00 - 23.00 น. (เข้าก่อน 22.00 น.) พอจ่ายค่าบัตรผ่านประตูผู้ใหญ่ 300 เยน เด็ก 100 เยน (ไม่รวมค่าราเม็งนะจ้ะ) เสร็จแล้วก็เข้าไปชมข้างในกันได้เลยค่ะ

พิพิธภัณฑ์ราเม็ง (Shin Yokohama Raumen Museum)ขอเล่าประวัติของราเม็งสักเล็กน้อยนะคะ เนื่องจากท่าเรือใหญ่ของญี่ปุ่นนั้นคือเมืองโยโกฮาม่า และก็อยู่ไม่ไกลจากโตเกียวด้วย ทำให้โยโกฮามาเปรียบเหมือนประตูแห่งญี่ปุ่นเลยละค่ะ

เพราะว่าชาวต่างชาติ ใครไปใครมา ก็จะมาหยุดอยู่ที่ท่าเรือโยโกฮามาก่อนจะเข้าโตเกียว ทำให้มีวัฒนธรรมนานาชาติผ่านเข้าสู่ญี่ปุ่น ณ จุดนี้ ซึ่งราเม็งก็เป็น 1 ในวัฒนธรรมที่ชาวจีนนำเข้ามาด้วยตอนที่อพยพมาทำงานตามเมืองท่าเรือ ในช่วงแรกเรียกว่าบะหมี่จีน พอคนญี่ปุ่นมาชิมปุ๊บ ก็เลยติดใจและดัดแปลงรสชาติให้เข้ากับคนญี่ปุ่น เกิดเป็นราเม็งน้ำข้นบ้างน้ำใสบ้าง มีเนื้อหมูฝานเป็นแผ่นบางๆ ส่วนใหญ่มักเป็นหมูมีมันตรงกลาง

พิพิธภัณฑ์ราเม็ง (Shin Yokohama Raumen Museum)ราเม็งมีหลากหลายชนิดแตกต่างกันตามภูมิภาค โดยชนิดของราเม็งจะแบ่งตาม เส้นก๋วยเตี๋ยว เนื้อ และน้ำซุป สามอย่างนี้เป็นหลัก โชยุราเม็ง (ราเม็งซีอิ๊ว), มิโซะราเม็ง, พลายราเม็ง, บันชูราเม็ง, ทะกะยะมะราเม็ง, โอโนะมิจิราเม็ง, จุ้ยราเม็ง, ปาล์มราเม็ง จุดเด่นอยู่ที่น้ำซุปราเม็งที่แสนจะเข้มข้น กับเส้นเหนียวนุ่มนี่ละค่ะ ที่ราเม็งมิวเซียม มีทั้งหมด 3 ชั้นด้วยกันค่ะ ตามแผนที่ด้านล่าง แต่ละชั้นก็จะแตกต่างกันออกไป

ชั้นแรกที่พบ ก็จะมีการเล่าถึงประวัติความเป็นมาของราเม็งญี่ปุ่น เครื่องมือในการใช้ผลิตเส้นราเม็ง และราเม็งชนิดต่างๆ และมีร้่านขายสินค้า ของที่ระลึกก็จะเป็นพวกราเม็งกึ่งสำเร็จรูปเอาไปทำกินเองที่บ้าน มีอุปกรณ์การกินราเม็งมากมาย เช่น ชาม ถ้วย ช้อน ตะเกียบ เส้นที่เอาไว้ทำราเม็งค่ะ

พิพิธภัณฑ์ราเม็ง (Shin Yokohama Raumen Museum)และถ้าเพื่อนๆ มาเที่ยวไม่ว่าจะเป็นที่นี่ หรือไปเที่ยวที่ไหนสิ่งที่ขาดไม่ได้ คงจะเป็นพวกของฝากหรือของที่ระลึกต่าง ๆ ใช่มั้ยค่ะ ที่พิพิธภัณฑ์ราเม็งแห่งนี้ก็มีให้เพื่อน ๆ ได้เลือกกันอย่างมากมาย เอาเป็นว่าอาจจะถือกลับไม่ไหวเลยด้วยซ้ำ

มีการแสดงบะหมี่ในแนวต่างๆค่ะ ภาพด้านซ้ายเป็นบะหมี่ถ้วย ส่วนภาพด้านขวาเป็นบะหมี่ที่ออกแบบมาเพื่อรับประทานในอวกาศ ในสภาพที่ไร้แรงโน้มถ่วง ประมาณว่าตัดซองปั๊บ พอบะหมี่ลอยออกมาก็งับเข้าปากได้เลยค่ะ แหม คนญี่ปุ่นนี่ช่างคิดจริงๆ

และที่เด็ดที่สุดเลยต้องเป็นชั้นใต้ดินค่ะ เพราะในชั้นใต้ดินแห่งนี้มีร้านขายราเม็งอยู่มากมายค่ะ ตกแต่งในสไตล์ย้อนยุคไปช่วงประมาณ พ.ศ. 2500 และไม่ได้เด่นเรื่องบรรยากาศแค่นั้นนะ รสชาตินี่สุดยอดเลยด้วย

พิพิธภัณฑ์ราเม็ง (Shin Yokohama Raumen Museum)นอกจากร้านขายราเม็งแล้วยังมีร้านค้าสมัยเก่าอีกหลายร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านขายขนมแบบย้อนยุค หรือร้านขายของฝากก็มีอยู่หลายร้านเช่นกัน ยังไงก็แวะอุดหนุนเค้าบ้างนะ

ร้านราเม็งที่ราเม็งมิวเซียมแห่งนี้ มีเพียง 8 ร้าน ที่ผ่านการคัดเลือกว่าทำราเม็งได้อร่อยที่สุดในญี่ปุ่นเลยทีเดียวค่ะ โดยแต่ละร้านจะมาจากเมืองแห่งราเม็ง เช่น ซัปโปโร, ฟูคุชิมะ, วาคายามะ, ฮากาตะ แหม สำหรับราเม็งเลิฟเวอร์นี่ห้ามพลาดเด็ดขาด วิธีการทานราเม็งที่นี่ออกจะแปลกสักนิดนะคะ คือเราต้องเลือกร้านราเม็งที่ถูกใจก่อน โดยที่หน้าร้านจะมีตู้กดเลือกชนิดของราเม็งที่เราสนใจ มีรูปพร้อมราคาบอกไว้เสร็จสรรพ เรามีหน้าที่ใส่เงินเข้าไป แล้วกดเลือกป้ายที่ต้องการ คูปองของราเม็งชนิดที่เราต้องการก็จะหล่นลงมา เราก็เอาคูปองนั้นเข้าไปนั่งในร้านยื่นให้พนักงานรอคิวสักครู่ เมื่อที่นั่งในร้านว่างจึงจะเข้าไปรับประทานได้ค่ะ


info credit:
http://ilove2go.blogspot.com/2009/09/shin-yokohama-raumen-museum.html
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...