Saturday, September 10, 2011

ขนมโมจิ (Mochi) : ความเป็นมาของขนมโมจิ (History of Mochi)

ขนมโมจิ (Mochi)

วันนี้มีของอร่อยๆ ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นมานำเสนอกันอีกแล้ว เป็นอาหารว่างที่สามารถหาทานได้ตลอดทั้งปี สามารถนำมาพลิกแพลงได้หลายรูปแบบ และทานกันได้ตั้งแต่เด็กจนถึงคนสูงอายุเลยทีเดียว เป็นอาหารที่ญี่ปุ่นเค้าทานกันมานานมากแล้ว อาหารนั้นก็คือ "เค้กข้าว" หรือ "โมจิ" นั่นเอง แล้วเค้กข้าวญี่ปุ่นมีความเป็นมายังไง และมีแบบไหนบ้าง อย่ารอช้า... มาติดตามกันเลยดีกว่า

เค้กข้าวญี่ปุ่น (โมจิ - Mochi)ความเป็นมาของ เค้กข้าวญี่ปุ่น (โมจิ)
(History of the Mochi)


มาเริ่มรู้จักความเป็นมาของเค้กข้าวญี่ปุ่นกันก่อนดีกว่านะ เค้กข้าวสมัยโบราณนั้นนำเข้ามาจากประเทศจีนก่อนและเผยแพร่ไปในประเทศที่ใกล้เคียงรวมทั้ง ญี่ปุ่น และ เกาหลี อีกด้วย ชื่อที่ญี่ปุ่นในปัจจุบันเรียกว่า "โมจิ" และที่เกาหลีเรียกว่า "ต็อก" ในญี่ปุ่นนั้นเริ่มมีประเพณีการทำโมจิใน สมัยเฮอัน หรือ ช่วงศตวรรษที่ 10

ความจริงแล้วในสมัยก่อน ญี่ปุ่นไม่ได้เรียกเค้กข้าวว่า Mochi ในตอนแรกเรียกว่า Mochii เพิ่งมาเริ่มเรียกว่า โมจิ ก็ตอนช่วงศตวรรษที่ 18 คำว่า โมจิ นั้น มาจากคำกริยาของญี่ปุ่นก็คือคำว่า Motsu ที่แปลได้ว่า มีให้ถือมีให้ใช้ และก็มีความเชื่อว่า โมจิเป็นอาหารที่ได้รับมาจากเทพเจ้า ช่วงก่อนวันปีใหม่ประมาณ 1 สัปดาห์คนญี่ปุ่นเริ่มมีเทศกาลการทำ Mochitsuki ที่แปลว่า พระจันทร์เต็มดวง ที่เห็นกระต่ายตำโมจิบนดวงจันทร์นั่นแหละ และบางพื้นที่จะเรียกว่า Muchimi ซึ่งหมายถึง ความยึดติด นั่นเอง

ในตอนแรกนั้นโมจินำมาเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก่อน และต่อมาคนผู้คนเริ่มทำรับประทานกันเองที่บ้าน เพราะวัตถุดิบหาไม่ยาก กรรมวิธีก็ไม่ยาก และยังให้พลังงานได้พอดีกับการทานข้าวซักมื้อหนึ่งอีกด้วย ผู้คนจะทานโมจิในวันที่อากาศหนาวมากๆ เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย และ นักรบซามูไรยังพกโมจิไปออกรบเหตุผลก็เพราะง่ายในการพกพาติดตัวไปน่ะสิ และนักรบสมัยก่อนยังเชื่อมโยงระหว่างเสียงการตำโมจิกับสัญญาณการออกรบอีกด้วย

Mochitsukiการทำโมจิในช่วงก่อนวันปีใหม่ในเทศกาล Mochitsuki นั้น ไม่ได้ยากตรงการหาวัตถุดิบ ที่ยากก็คือการออกแรงในการทุบข้าวเหนียวนั่นแหละ ท่าทางจะใช้แรงพอสมควรเลยนะคนในครอบครัวญี่ปุ่นเค้าก็เลยออกมาช่วยกันทุบโมจิ เป็นกิจกรรมภายในครอบครัว ซึ่งไม่เพียงแต่ครอบครัวตัวเองเท่านั้น ในหมู่บ้าน กิจการต่างๆ หรือ ในหมู่เพื่อนพ้องก็สามารถมาช่วยกันทำได้


credit: http://www.marumura.com
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...