Thursday, September 29, 2011

10 อันดับ ของฝากยอดนิยมในญี่ปุ่น

10 อันดับของฝากยอดนิยมในญี่ปุ่น (10 most popular from Japan)

อันดับ 10 Tako Yaki (たこ焼き) จากจังหวัด Osaka ถ้าพูดถึง Tako Yaki แล้วก็ต้องที่ Osaka เท่านั้น


อันดับ 9 Haginotsuki (萩の月) แห่งจังหวัด Miyagi(宮城)เป็นเค้กฟองน้ำคุณภาพเยี่ยม (カステラ:Kasutera) ที่สอดไส้ครีมคัสตาร์ดรสหวานกำลังพอเหมาะ เป็นของฝากที่พลาดไม่ได้ของเซนได เลยทีเดียว


อันดับ 8 Marusei Butter Sando (マルセイバターサンド) ของจังหวัด Hokkaido (北海道) เป็นบิสกิต สอดไส้ครีม White Chocolate และลูกเกด


อันดับ 7 Momiji Manju (もみじまんじゅう) ของฝากจากจังหวัด Hiroshima (広島) เป็นขนม Manju ไส้ถั่วแดงที่คนญี่ปุ่นนิยมทานกับน้ำชา นอกจากความหวานอร่อยของขนมแล้ว ความน่ารับประทานของขนมที่เป็นที่ออกแบบเป็นรูปใบเมเปิ้ล ก็ทำให้ Momijimanju เป็นของฝากขึ้นชื่อของ Hiroshima ไปเลย


อันดับ 6 Shiroikoibito (白い恋人) ของฝากจาก Hokkaido (北海道) ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นคุ้กกี้สอดไส้ White Chocolate ซี่งเนื้อคุ้กกี้จะถูกอบด้วยความเกรียมที่กำลังพอดี บวกกับ White Chocolate ที่ทำจากน้ำนมอันเลื่องชื่อของ Hokkaido ทำให้ Shiroi Koibito เป็นที่ติดอกติดใจทั้งของคนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามสนามบินแทบจะทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่น


อันดับ 5 Uirou (ういろう) ของฝากจากจังหวัด Aichi (愛知) เป็นขนมขึ้นชื่อของเมือง Nagoya (名古屋) ที่เป็นที่รู้จักกันดีของคนญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นขนมที่มีมาตั้งแต่สมัยแรกในยุคเอโดะ (江戸時代) ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าที่นำไปนึ่ง รสหวานอ่อน ๆ นุ่ม ๆ มีทั้งรสน้ำตาลขาว น้ำตาลดำ ถั่วแดง และชาเขียว เป็นขนมที่คนญี่ปุ่นนิยมทานกับน้ำชาเป็นลำดับต้นๆ เลยทีเดียว


อันดับ 4 Jagapokkuru (じゃがポックル) ของฝากจากจังหวัด Hokkaido รูปลักษณ์ภายนอกก็เป็นแค่มันฝรั่งแท่งทอดกรอบทั่วไป แต่รสชาตินั้นสุดยอด ผลิตโดยคาลบี้ ที่พวกเรารู้จักกันดี ภายใต้แบรนด์ Potato Farm ออกวางขายตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2006 ในช่วงแรกๆ ก็ไม่ได้มีการโฆษณาแต่อย่างใด ด้วยความอร่อย และเสียงปากต่อปากจากผู้ชิมทั้งหลาย ทำให้ขายดีถึงขนาดที่จะต้องจำกัดจำนวนซื้อต่อคนต่อครั้งกันเลยทีเดียว ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น ทำให้สามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น ตามสนามบินและร้านตัวแทนจำหน่ายบางแห่ง


อันดับ 3 Akafuku (赤福) ของฝากจากเมือง Ise (伊勢) จังหวัด Mie (三重) เป็นขนมดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่สมัย Houei (宝永) ประมาณปี 1707 คือขนมโมจิไส้ถั่วแดง ที่มีรสชาติแสนอร่อย และถือว่าเป็นขนมมงคลที่แสดงถึงความจริงใจของผู้ให้ที่จะมอบความสุขให้แก่ผู้รับ ขนมนี้จึงนิยมเป็นของฝากของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก
อันดับที่ 2 Gougouichi no Butaman (551の豚まん) ของฝากขึ้นชื่อของจังหวัด Osaka เป็นซาลาเปาไส้หมูบดรวมกับหอมหัวใหญ่ ผลิตโดยร้านอาหารจีนขึ้นชื่อของ Osaka ที่มีชื่อว่าร้าน 551 Horai (551蓬莱) ซึ่งมียอดขายเฉลี่ยถึงวันละ 140,000 ลูก

ส่วนขายซาลาเปาแบบซื้อกลับบ้านในตัวเมือง Osaka มีสาขาอยู่มากมาย ทั้งที่ Namba, Shinzaibashi, และ Umedaภัตตาคารอาหารจีนในสนามบินคันไซ


อันดับ 1 Karashi Mentaiko (辛子明太子) ของฝากจากจังหวัด Fukuoka (福岡) Mentaiko ก็คือไข่ปลาคอต Karashi คือรสเผ็ด Karashi Mentaiko เป็นการนำไข่ปลาคอตไปหมักกับเกลือแล้วปรุงรสเผ็ดด้วยพริกนั่นเอง เล่ากันว่า Karashi Mentaiko นั้นเกิดในช่วงสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลี และเนื่องจากเมือง Fukushima เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญระหว่างเกาหลีและญี่ปุ่น จึงทำให้ Karashi Mentaiko เป็นอาหารที่ดัดแปลงมาจากการหมักกิมจิของประเทศเกาหลีนั่นเอง และในปี Showa ที่ 50 เมื่อรถไฟ Shinkanzen สาย Sanyo ที่วิ่งระหว่างสถานี Shin Osaka ถึงเมือง Hakata เริ่มเปิดให้บริการ ทำให้ Karashi Mentaiko เป็นที่รู้จักมากขึ้น ปัจจุบันนิยมนำ Karashi Mentaiko ไปทำ Onigiri และสปาเกตตี้ รวมถึงอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย



ขอบคุณข้อมูลจาก : http://gurutabi.gnavi.co.jp
ที่มา : http://www.marumura.com/japanist_talkative/?id=1526

Sunday, September 25, 2011

Japanese Foods iPhone Cases เคสสำหรับคนรักอาหารญี่ปุ่น

iPhone Cases เคสสำหรับคนรักอาหารญี่ปุ่น

ใครรักอาหารญี่ปุ่นเชิญทางนี้! ...แน่นอนว่าโทรศัพท์หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้องคงต้องเป็น "เทคโนโลยีการสื่อสาร" ที่ผู้คนนิยมใช้กันมากที่สุดยี่ฮ้อหนึ่งในยุคนี้สมัยนี้ คงหนีไม่พ้นต้องมีชื่อยี่ฮ้อ "iPhone" ติดอยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน เพราะว่าไอโฟนนั้นเป็นที่นิยมไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่นิยมไปทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นแถบยุโรป อเมริกา จีน เกาหลี และในอีกหลายๆประเทศทั่วโลก

ทำไมความนิยมในการใช้ iPhone ถึงมีจำนวนมากมายขนาดนั้น?

นั่นเป็นเพราะว่า iPhone มีความโดดเด่นมากมาย ถือว่าเป็นเทคโนโลยีแห่งยุคก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ แบรนด์ ฟังชั่นการใช้งานที่ทันสมัย เกมส์ รวมถึงแอพพลิเคชั่น(Application) ต่างๆอีกมากมาย ที่ถูกสร้างมาจากนักออกแบบแอพพลิเคชั่นiPhone ทั่วโลก

จากความนิยมที่มากมายล้นเหลือเหล่านี้นี่เอง ทำให้ iPhone เป็นที่ต้องการมากในท้องตลาด ฉันใดก็ฉันนั้นเวลามีของที่ใครใช้กันมากๆ มันก็จะเกล่อ ดูไม่แตกตาง และนี่จึงเป็นที่มาของความต้องการสร้างความโดดเด่น และแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ด้วยการใส่ "เคส หรือหน้ากาก (Case)" ให้กับ iPhone

การดีไซด์ Case ของ iPhone นั้นมีหลากหลายตามแต่จินตนาการของผู้ออกแบบ บางส่วนก็ออกแบบตามการ์ตูน หรือเกมส์ดังๆ และมีอีกมากมายที่ใส่ไอเดียลงไปทำให้เกิิดเป็นงานศิลปะที่โด่ดเด่น อย่างเช่นเคสที่จะทำเสนอในวันนี้ นั่นคือ

iPhone Cases เคสสำหรับคนรักอาหารญี่ปุ่น

Wednesday, September 21, 2011

เทคนิคการสไลซ์ผักแบบญี่ปุ่น

เทคนิคการสไลซ์ผักแบบญี่ปุ่น

(Japanese Vegetable Slicing & Cutting Techniques)

เหล่าสาวกอาหารญี่ปุ่นคงเคยเห็นมากิ ที่ห่อด้วยแผ่นผักสไลซ์บางเฉียบแทนแผ่นสาหร่าย ซึ่งดูแล้วเหมือนทำง่ายเพราะคงใช้อุปกรณ์ปอกสไลซ์ผักที่ทันสมัย แต่ความจริงการสไลซ์พืชผักชนิดหัวให้เป็นแผ่นนั้น เหล่าเซฟญี่ปุ่นมีอุปกรณ์เพียงแค่มีดคมๆ 1 เล่ม เท่านั้น แต่ความสำคัญอยู่ที่ฝีมือและเทคนิคที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง ซึ่งเรานำมาฝากให้คุณได้ลองฝึกทำดูบ้างค่ะ



เทคนิควิธีการสไลซ์ผักแบบญี่ปุ่น

1. ปอกเปลือกผักหัวที่ต้องการสไลซ์ โดยให้จับมีดด้วยมือขวา ถือหัวผักด้วยมือซ้าย และวางให้ขนานกับใบมีด จากนั้นหมุนมือซ้ายพร้อมกับกดใบมีดลง สไลซ์เปลือกออกจนหมด

2. ตอกไม้จิ้มฟัน 2 อัน เข้าไปที่เนื้อมีด โดยให้คมมีดจมอยู่ในเนื้อไม้จิ้มฟันครึ่งหนึ่ง และให้ไม้จิ้มฟันห่างกันเกินความยาวของหัวผักเล็กน้อย

3. วางหัวไช้เท้าลงบนเขียง ใช้มือซ้ายกดให้แนบกับเขียง จับมีดด้วยมือขวาให้แน่น หันมีดด้านที่มีไม้จิ้มฟันแนบกับหัวไช้เท้า ลากมีดไปทางซ้ายเรื่อยๆ จนสไลซ์ผักต่อไม่ได้


วิธีนี้ทำให้ได้แผ่นผักสไลซ์บางและยาวไว้ใช้ห่อมากิ หรือสามารถหั่นทำเป็นผักฝอยได้เช่นกัน โดยตัดเป็นแผ่นผักสไลซ์ให้มีความยาวเท่าๆกัน แล้วนำมาวางซ้อนหลายๆชิ้นก่อนใช้มีดซอยเป็นเส้นฝอยๆ แล้วนำไปล้างในน้ำเย็นจัด พักให้สะเด็ดน้ำ เท่านี้ผักที่เราสไลซ์เอาไว้ก็กลายเป็นผักหั่นฝอยสดกรอบ แกล้มคู่กับปลาดิบได้อร่อยไม่แพ้กันเลยค่ะ


credit: นิตยสาร Health & Cuisine ฉบับที่ 128

Saturday, September 17, 2011

ขนมโมจิ (Mochi) : รูปแบบของโมจิ (Type of Mochi)

Mochi Kinako
Daifukumochi
Zoni soup
Kagami mochi - Kagami biraki
ขนมโมจิ (Mochi)

มาถึงโมจิในรูปแบบต่างๆ โมจิสามารถนำมาดัดแปลงเป็นขนมหรืออาหารได้หลากหลาย มาดูกันซิว่ามีอะไรบ้าง


โมจิในรูปแบบต่างๆ (Type of Mochi)


• พูดถึงโมจิที่นิยมทานในช่วงปีใหม่ก่อนดีกว่าก็มี Kagami mochi หรือ Kagami biraki เป็นโมจิที่ถูกตบแต่งแบบโบราณเอาไว้ใช้ในงานพิธีกรรมทางศาสนาและเทศกาลต่างๆ


• ต่อมาคือ Kinako mochi โมจิแห่งความโชคดี มีวิธีทำแบบดั้งเดิมก็คือ นำโมจิไปย่างกับไฟอ่อนๆ ก่อนและชุบด้วยซอสถั่วเหลืองที่ผสมน้ำกับน้ำตาลเอาไว้ สุดท้ายก็เอาไปคลุกกับผงถั่วเหลืองหวานเรียกว่า Kinako ก็เสร็จเรียบร้อย


ซุป Zoni ก็คือซุปที่คนญี่ปุ่นจะทานตอนวันปีใหม่ เป็นซุปที่มีโมจิ มีผักและคามาโบะโกะ อยู่ในถ้วยเดียวกัน สมัยก่อนเป็นอาหารหลักของของนักรบซามูไรที่ทำทานในช่วงการออกศึก


• เมนูถัดมาน่าจะเป็นของโปรดใครหลายๆคน Daifukumochi ขนมญี่ปุ่นยัดไส้หวาน มีหลากสีสันสวยงาม โรยด้วยไอซ์ซิ่ง หรือ ผงโกโก้ สมัยก่อนถูกเรียกว่า Harabuto (腹太餅) แปลว่า เค้กข้าวท้องหนา ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น DaifukuMochi (大腹饼) คือมีโชคยิ่งใหญ่ เพราะว่าในภาษาญี่ปุ่นนั้นคำว่า Fuku (腹) ที่แปลว่า ท้อง และ Fuku (福) อีกคำที่แปลว่าโชคดี พ้องเสียงเหมือนกันเลยให้ใช้ชื่อ ไดฟุกุโมจิ ดีว่าเพราะเป็นชื่อมงคลมากกว่านั่นเอง แล้วจะมี "ไดฟุกุโมจิ" แบบไหนบ้างมาดูกันต่อเลย


"ไดฟุกุโมจิ" รูปแบบต่างๆ (Type of Daifukumochi)

1. แบบแรกก็คือ Yomogi Daifuku เป็นขนมโมจิที่นิยมทานกันในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ทำมาจากโมจิผสมกับใบของต้น Yomogi จะได้แป้งออกมาเป็นสีเขียวและสอดไส้ถั่วแดงลงไปอีก

2. แบบต่อมา Ichigo Daifuku เป็นไดฟุกุที่ได้รับความนิยมสูงมากเลยนะ เพราะเป็นโมจิที่สอดไส้ครีมหรือถัวแดงเอาไว้ในชั้นแรกและชั้นในสุดคือสตรอ เบอร์รี่ผลโต รสชาติจะอมหวานอมเปรี้ยวหอมอร่อยเชียวนะ

3. Yukimi Daifuku เป็นขนมโมจิสอดไส้ไอศครีมผลิตโดย Lotte ตั้งแต่ปี 1980 เป็นที่นิยมมากเพราะรสชาตินุ่มนวล และหาทานได้ง่ายอีกด้วย

Sakura mochi kansai4. ต่อมา Dango โมจิลูกกลมๆ เล็กๆ ที่เสียบไม้เรียงกันอย่างสวยงาม จริงๆ Dango (団子) แปลว่า เกี๊ยว สรุปว่าเป็นเกี๊ยวญี่ปุ่นก็แล้วกัน ขนมดังโกะหาซื้อทานได้ตลอดทั้งปี และ ดังโกะที่มีสามสี สีชาว สีชมพู สีเชียว เรียกว่า Hanami Dango นิยมทานกันในช่วงชมดอกซากุระบานจ้า ดังโกะมีหลากหลายรสชาติมาก มีทั้งถั่วแดง ชาเขียว เกาลัด มันหวาน ถั่วต้มหวาน ราดซอสถั่วเหลืองก็มี และยังมีแบบนำเต้าหู้มาผสมโมจิแล้วย่างต่อด้วยราดซอสต่างๆอีกต่างหาก น่าอร่อยๆทั้งนั้นเลย

5. ในหน้าร้อนจะนิยมทาน Warabimochi ก็ไม่ได้ทำมากโมจิซะทีเดียว เป็นวุ้นที่คลุกกับผงถั่วเหลืองหวาน ในแถบคันไซและโอกินาว่าจะนิยมทานกันมาก มีรถวิ่งมาขายเหมือนรถไอศครีมเลย

6. ในหน้าหนาวก็มีซุป Oshiruko หรือ Ozenzai ก็คือถั่ว Azuki หรือถั่วแดงต้มและบด ท้อปปิ้งด้วยโมจิ คนญี่ปุ่นเค้าจะทานสิ่งนี้เพื่อให้ร่างกายได้อบอุ่น และบางทีก็มี บ๊วยเค็มหรือของเปรี้ยวเสิร์ฟเคียงมาด้วย และในบางพื้นที่ยังทานซุปชิรุโกะในวันขึ้นปีใหม่อีกด้วย

7. นอกจากนี้ยังมี Sakuramochi ขนมโมจิญี่ปุ่นทำด้วยโมจิสีชมพูของดอกซากุระ โปะด้วยถั่วแดงและปิดด้วยใบไม้ของต้นซากุระและ Hishi mochi โมจิที่ใช้ในเทศกาลเด็กผู้หญิงฮินะมัทสึริ คือโมจิที่มีก้อนสี่เหลี่ยมสามสี สีชมพู สีขาว และสีเขียว

Wagashi8. ต่อมาคือ Hanabiramochi ขนมหวานเสิร์ฟตอนทานกับชาในครั้งแรกของปีใหม่ เริ่มทานกันในปี 1868 จนถึงปัจจุบัน เป็นขนมในโอกาสพิเศษสำหรับครอบครัวในวันปีใหม่เท่านั้น

9. แล้วก็ Manju ก็เป็นส่วนหนึ่งของโมจิด้วยเหมือนกันนะ เดิมที่จีนเรียกว่า มันโถว ญี่ปุ่นนำเข้ามาในสมัยนารา และเริ่มเรียกว่า มันจู ตั้งแต่นั้นมา มันจูเป็นขนมญี่ปุ่นที่มีหลากหลายไส้มาก มีทั้งไส้ถั่วแดง ฟักทอง ชาเขียว เป็นต้น


ในปัจจุบันมีแพ็คเกจขนมญี่ปุ่นออกมาขายเยอะแยะไปหมด และยังมีสูตรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกมากมาย ส่วนใหญ่จะเน้นเพื่อสุขภาพกันซะส่วนใหญ่ ยังมีเครื่องนวดโมจิออกมาอีกด้วย สมัยก่อนต้องทำกันเองที่บ้านแต่สมัยนี้อะไรก็สะดวกสบายไปซะหมด แค่ซื้อโมจิสำเร็จรูปมาเข้าไมโครเวฟก็ทานได้แล้ว


เป็นยังไงกันบ้างได้รู้จักอาหารว่างญี่ปุ่นกันมากขึ้นบ้างหรือเปล่า จริงๆ แล้วขนมญี่ปุ่นต้องเรียกว่า วากาชิ เรียก โมจิ คนญี่ปุ่นอาจจะงงกันได้นะค่ะ


credit: http://www.marumura.com

Wednesday, September 14, 2011

ขนมโมจิ (Mochi) : อุปกรณ์และวิธีการทำโมจิ

ขนมโมจิ (Mochi)

อุปกรณ์และวิธีการทำโมจิ (โมจิ) - (How to make Mochi)

อุปกรณ์สำหรับทำโมจิ

มาดูอุปกรณ์ในการทำก่อน

1. มีครกญี่ปุ่นที่เรียกว่า Usu นิยมทำมาจากไม้ หรือ หิน สูงประมาณหนึ่งเมตร ความลึกประมาณหนึ่งไม้บรรทัดจ้า และ

2 อุปกรณในการตำหรือทุบข้าวเหนียวก็คือค้อนไม้ที่เรียกว่า Kine มีหลายขนาดให้เลือกใช้ มีตั้งแต่ขนาดสำหรับเด็กๆ ใช้ตำจนถึงสำหรับผู้ใหญ่เลยนะ ดีจริงๆ และอีกหนึ่งชิ้นภาชนะใส่น้ำเปล่า ^^


วิธีการทำโมจิ

วิธีการทำมีดังนี้...

1. เริ่มแรกก็นำข้าวเหนียวมาแช่น้ำค้างไว้ซักหนึ่งคืนก่อน

2. ต่อมานำข้าวเหนียวไปหุงจนสุกได้ที่แล้ว นำไปใส่ครก Usu
การตำโมจินั้นต้องมีการสลับจังหวะในการตำ คนหนึ่งตำไป อีกคนหนึ่งพลิกก้อนโมจิไป ในขณะที่พลิกต้องพรมน้ำไปด้วยทุกครั้ง ต้องสลับจังหวะให้ดีๆ ไม่อย่างนั้นคนตำจะเผลอตำถูกมืออีกคนไปด้วย ต้องใช้สมาธิอย่างสูงเลยทีเดียว

3. พอเหนียวได้ที่จนเป็นก้อนแล้วก็นำมาพลิกแพลงทำเมนูต่างๆได้เลย และที่สำคัญนั้นการแบ่งโมจิในวันปีใหม่นั้นห้ามใช้ของมีคมตัดเด็ดขาด เพราะการตัดนั้นเค้าถือเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคล ใช้วิธีแบ่งเอาใช้มือนี่แหละ เรื่องเล็กๆน้อยก็เป็นเคล็ดมงคลไปหมดเลยนะเนี่ย ในปัจจุบันก็มีโมจิสำเร็จรูปออกมาขายเป็นก้อนสี่เหลี่ยมสามารถซื้อและนำมาทำ อาหารได้เลยจ้า


** โมจิยังสามารถทำได้อีกแบบหนึ่งก็คือ ทำมาจากแป้งข้าวหวานเรียกว่า Mochiko นำมาผสมน้ำและตั้งไฟคนให้เหนียวจะได้โมจิเนื้อละเอียดเด้งๆ สีขาวขุ่นๆออกมา แป้งนี้ยังนำมาทำเป็นขนมปังและเส้นราเมนได้อีกด้วยนะ


credit: http://www.marumura.com

Saturday, September 10, 2011

ขนมโมจิ (Mochi) : ความเป็นมาของขนมโมจิ (History of Mochi)

ขนมโมจิ (Mochi)

วันนี้มีของอร่อยๆ ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นมานำเสนอกันอีกแล้ว เป็นอาหารว่างที่สามารถหาทานได้ตลอดทั้งปี สามารถนำมาพลิกแพลงได้หลายรูปแบบ และทานกันได้ตั้งแต่เด็กจนถึงคนสูงอายุเลยทีเดียว เป็นอาหารที่ญี่ปุ่นเค้าทานกันมานานมากแล้ว อาหารนั้นก็คือ "เค้กข้าว" หรือ "โมจิ" นั่นเอง แล้วเค้กข้าวญี่ปุ่นมีความเป็นมายังไง และมีแบบไหนบ้าง อย่ารอช้า... มาติดตามกันเลยดีกว่า

เค้กข้าวญี่ปุ่น (โมจิ - Mochi)ความเป็นมาของ เค้กข้าวญี่ปุ่น (โมจิ)
(History of the Mochi)


มาเริ่มรู้จักความเป็นมาของเค้กข้าวญี่ปุ่นกันก่อนดีกว่านะ เค้กข้าวสมัยโบราณนั้นนำเข้ามาจากประเทศจีนก่อนและเผยแพร่ไปในประเทศที่ใกล้เคียงรวมทั้ง ญี่ปุ่น และ เกาหลี อีกด้วย ชื่อที่ญี่ปุ่นในปัจจุบันเรียกว่า "โมจิ" และที่เกาหลีเรียกว่า "ต็อก" ในญี่ปุ่นนั้นเริ่มมีประเพณีการทำโมจิใน สมัยเฮอัน หรือ ช่วงศตวรรษที่ 10

ความจริงแล้วในสมัยก่อน ญี่ปุ่นไม่ได้เรียกเค้กข้าวว่า Mochi ในตอนแรกเรียกว่า Mochii เพิ่งมาเริ่มเรียกว่า โมจิ ก็ตอนช่วงศตวรรษที่ 18 คำว่า โมจิ นั้น มาจากคำกริยาของญี่ปุ่นก็คือคำว่า Motsu ที่แปลได้ว่า มีให้ถือมีให้ใช้ และก็มีความเชื่อว่า โมจิเป็นอาหารที่ได้รับมาจากเทพเจ้า ช่วงก่อนวันปีใหม่ประมาณ 1 สัปดาห์คนญี่ปุ่นเริ่มมีเทศกาลการทำ Mochitsuki ที่แปลว่า พระจันทร์เต็มดวง ที่เห็นกระต่ายตำโมจิบนดวงจันทร์นั่นแหละ และบางพื้นที่จะเรียกว่า Muchimi ซึ่งหมายถึง ความยึดติด นั่นเอง

ในตอนแรกนั้นโมจินำมาเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก่อน และต่อมาคนผู้คนเริ่มทำรับประทานกันเองที่บ้าน เพราะวัตถุดิบหาไม่ยาก กรรมวิธีก็ไม่ยาก และยังให้พลังงานได้พอดีกับการทานข้าวซักมื้อหนึ่งอีกด้วย ผู้คนจะทานโมจิในวันที่อากาศหนาวมากๆ เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย และ นักรบซามูไรยังพกโมจิไปออกรบเหตุผลก็เพราะง่ายในการพกพาติดตัวไปน่ะสิ และนักรบสมัยก่อนยังเชื่อมโยงระหว่างเสียงการตำโมจิกับสัญญาณการออกรบอีกด้วย

Mochitsukiการทำโมจิในช่วงก่อนวันปีใหม่ในเทศกาล Mochitsuki นั้น ไม่ได้ยากตรงการหาวัตถุดิบ ที่ยากก็คือการออกแรงในการทุบข้าวเหนียวนั่นแหละ ท่าทางจะใช้แรงพอสมควรเลยนะคนในครอบครัวญี่ปุ่นเค้าก็เลยออกมาช่วยกันทุบโมจิ เป็นกิจกรรมภายในครอบครัว ซึ่งไม่เพียงแต่ครอบครัวตัวเองเท่านั้น ในหมู่บ้าน กิจการต่างๆ หรือ ในหมู่เพื่อนพ้องก็สามารถมาช่วยกันทำได้


credit: http://www.marumura.com

Tuesday, September 6, 2011

ขนมหวานของญี่ปุ่น (Japanese sweets & desserts)

ขนมหวานของญี่ปุ่น (Japanese sweets & desserts)

รวมเรียกขนมหวานของญี่ปุ่นว่า "วากาชิ" (Wagashi - 和菓子) ซึ่งมีมานานตั้งแต่สมัยนะระหรือประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว แต่เฟื่องฟูสุดๆในช่วงเอโดะ (ปี ค.ศ. 1603-1867) โดยเฉพาะในเมืองเกียวโตและโตเกียว แต่ละร้านแข่งกันขายแข่งกันคิดขนมใหม่ๆจนกลายเป็นต้นตำรับของขนมญี่ปุ่นถึงจะได้ชื่อว่าเป็นขนมหวานประจำชาติ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ไม่ได้กินวากาชิกันบ่อยๆ ซึ่งวากาชินี้จะกินเป็นของว่างและในโอกาสพิเศษเมื่อมีพิธีการต่างๆเช่น พิธีแต่งงาน หรือพิธีชงชาและแรงบันดาลใจของพ่อครัวแม่ครัวในการสร้างสรรค์ขนมวากาชินั้นก็ได้มาจาธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ฤดูใบไม้ร่วงจะทำขนมคิคุโกะโระโมะรูปดอกเบญจมาศ ส่วนฤดูหนาวก็ทำยูคิโมจิ หรือโมจิหิมะ เป็นต้นมาถึงการแบ่งประเภทของวากาชิกันบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้แบ่งเป็นหมวดหมู่ชัดเจนเพราะขนมแต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

โจ นะมะกะชิ (Jyo-Namagashi, Jonamagashi)

โจ นะมะกะชิ (Jyo-Namagashi, Jonamagashi)ขนมญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นแป้งห่อไส้ถั่วแดงบดหรือ "อัน" (An) แป้งที่นำมาห่อหุ้มมีทั้งแป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆทั้งดอกไม้ ผลไม้ พระจันทร์ ซึ่งจะออกแบบให้เข้ากับฤดูกาล ทั้งชื่อขนม ส่วนผสม รูปทรงและสีสัน เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ผู้คนได้รู้ว่าฤดูกาลใหม่กำลังจะมาเยือน เช่น ซากุระโมจิ (โมจิสีชมพูห่อด้วยใบซากุระ) ซึ่งจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ

ฮิงะชิ (Higashi - Dried Sweets)

ฮิงะชิ (Higashi - Dried Sweets)เป็นขนมแบบแห้ง เก็บไว้ได้นาน ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำตาล และวาซัมบงโตะ (Wasambon-to) น้ำตาลผงที่ทำด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิมผสมกันแล้วนำมาอัดในพิมพ์ ได้ขนมที่ผิวเป็นแป้งแห้งๆคล้ายขนมโก๋ เสิร์ฟในพิธีชงชา

A glutinous rice flour, sugar and starch mixture or wasambonto is pressed in molds to form dry sweets

เซมเบ้ (Sembei)

เซมเบ้ (Sembei)เป็นข้าวเกรียบสีน้ำตาล เคี้ยวกรุบกรอบ มีหลากรูปร่างหลายขนาด (ใหญ่ที่สุดที่เคยเห็นก็ขนาดเท่าแผ่นเสียง) แต่แบบยอดฮิตคือทรงกลมแบนเหมือนที่รองแก้ว ทำจากข้าวเหนียวนำมาปิ้ง แต่งรสด้วยโชยุและเกลือเป็นหลัก ราดหน้าด้วยงา สาหร่าย พริก เพิ่มกลิ่น เพิ่มรสให้อร่อยกันได้หลายแบบ นอกจากนี้ยังมีเซมเบ้แบบหวานหรือซาราเมะ เซมเบ้ (Sarame Sembei) ทำจากแป้งสาลี น้ำตาลและกลูโคส

โมะนะกะ (Monaka)

โมะนะกะ (Monaka)คือเวเฟอร์ไส้ถั่วแดง มีทั้งถั่วบดและแบบเต็มเม็ด ประกอบด้วยแผ่นแป้งบางกรอบทำจากข้าวเหนียว ทำเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยมดอกซากุระ และอีกสารพัดรูปแล้วแต่จะสร้างสรรค์ โดดเด่นที่ความกรอบกับความนิ่มผสานกับรสหวานๆมันๆ นอกจากไส้ถั่วแดงแล้วยังมีไส้ชาเขียวและถั่วอื่นๆด้วย

Monaka refers to sweets made of adzuki bean filling sandwiched between two thin crisp wafers made from sticky-rice. Wafers are shaped in cherry blossoms, chrysanthemum and so on.

โยคัง (Yokan)

โยคัง (Yokan)หรือที่เรารู้จักกันในนาม "วุ่นถั่วแดง" ใช้ส่วนผสมหลักคือวุ้นที่ได้จากสาหร่าย เรียกว่า คันเตน (Kanten) แบ่งได้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ มิซุ โยคัง เป็นวุ้นใสๆแช่เย็น กินในฤดร้อนผสมผลไม้ลงไป ได้รสหวานเย็น หอมชื่นใจ อีกชนิดคือ มุชิ โยคัง เป็นวุ้นขุ่นๆ เนื้อนิ่มเหนียว ตัดเป็นชิ้นเหลี่ยมพอคำ ทำจากถั่ว เกาลัด หรือมันที่บดละเอียด แป้งสาลี น้ำตาล และคันเตน

Yokan is a thick jellied sweet made of adzuki bean paste, kanten, and sugar. One of the most popular among Japanese sweets, evolved during the Edo period (1603 - 1867) as sugar became more available. It can be kept longer and is a recommended gift item.

มันจู (Manjyu, manju)
มันจู (Manjyu, manju)
เป็นขนมกลมๆแป้งด้านนอกที่ห่อทำจากแป้งมันเทศ (บางครั้งใช้แป้งโซบะ) ไส้เป็นถั่วบดและมีมันเทศหรือเกาลัดอยู่ตรงกลางไส้อีกที นำไปนึ่ง อบหรือย่าง จึงได้ขนมอร่อยโดยเฉพาะขนมโมมิจิมันจูที่เมืองมิยาจิมาโดดเด่นที่ห่อด้วยใบเมเปิล มีหลายไ ส้ทั้งถั่วแดงบด คัสตาร์ด ช็อคโกแลต ถือเป็นขนมชื่อดังที่ไม่ว่าใครไปเยือนก็ต้องลองชิม

Steamed bun like sweets. A dough made from joyo (Japanese yams) or flour that is steamed, made into a bun and filled with bean paste.

ดังโกะ (Dango)
ดังโกะ (Dango)ที่ญี่ปุ่นนั้นมีเป็นสิบสูตร แต่ที่หน้าตาเหมือนลูกชิ้นเสียบไม้ที่บ้านเราเห็นกันเรียกว่า คุชิ ดังโกะ ทำจากแป้งโมจิ บางครั้งก็ผสมเต้าหู้ลงไปในแป้งด้วย ปั้นเป็นลูกกลม เสียบไม้แล้วนำไปปิ้ง ได้ลูกชิ้นแป้งนุ่มๆเหนียวๆราดซอสโชยุ ซอสเต้าเจี้ยว หรือเกาลัดบด หรือบางครั้งจะโรยด้วยถั่วบดกับน้ำตาลทรายแดง

ไดฟุกุ (Daifuku)

อิจิโกะ-ไดฟุกุ_Ichigo-Daifukuที่เมืองไทยมักเรียกว่าโมจิไส้ถั่วแดง แต่จริงๆเขาเรียกขนมประเภทนี้ว่าไดฟุกุ แป้งด้านนอกทำจากแป้งข้าวเหนียวนึ่งที่นำมาตีจนเหนียว (โมจิ) มีสีขาว เขียวและชมพู ส่วนไส้ก็เป็นถั่วแดง ที่พิเศษก็จะใส่ผลไม้ลงไป เช่น อิจิโกะ ไดฟุกุ (Ichigo Daifuku) เป็นโมจิไส้ลูกสตรอร์เบอร์รี่หอมหวาน อร่อยจับใจนอกจากนั้นยังมีไส้เมลอนบดและไอศกรีมรสต่างๆด้วย

ไทยะกิ (Tai Yaki)

ไทยะกิ (Tai Yaki)ขนมยอดฮิตสำหรับหน้าร้อนของญี่ปุ่น ขนมหน้าตาน่ารักรูปปลาตัวเท่าผ่ามือ เป็นขนมที่จำลองรูปแบบของปลากะพงแดง เรียกอีกชื่อว่า "แพนเค้กญี่ปุ่น" เนื้อแป้งแน่นและเหนียวนุ่ม สอดไส้ถั่วแดงบด นอกจากไส้ถั่วแดงมาตรฐานแล้วก็มีไส้เกาลัด ไส้มันหวานและอีกสารพัดไส้ เช่น ไส้ครีมต่างๆอย่าง ช็อคโกแลต ครีม สตอรเบอร์รี่ รูปทรงก็มีสารพัดรูปเช่นกัน ทั้งรูปตุ๊กตา รูปกลมๆ แบนๆ ที่เรียกว่า อิมะกะวะ ยะกิ และที่รู้จักกันดีที่สุดคือ โดรายากิ ขนมสุดโปรดของโดราเอมอนนั่นเอง

โดรายากิ_DorayakiTaiyaki (literally “baked sea bream”) is a Japanese fish-shaped cake. The most common filling is red bean paste that is made from sweetened azuki beans. Other common fillings may be custard, chocolate, or cheese. Some shops even sell taiyaki with okonomiyaki, gyoza filling, or a sausage inside.Taiyaki is made using regular pancake or waffle batter. The batter is poured into a fish-shaped mold for each side. The filling is then put on one side and the mold is closed. It is then cooked on both sides until golden brown. Taiyaki was first baked by a sweet shop Naniwaya in Azabu, Tokyo in 1909, and now can be found all over Japan, especially at food courts of supermarkets and Japanese festivals.
They are similar to imagawayaki (今川焼き?), which are thick round cakes also filled with sweet azuki bean paste or custard.


credit:
http://www.imageholiday.com
http://www.siamzone.com
http://www.kk-design.com
http://www.tastydays.com
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...